สวัสดี

รายงานการศึกษาการลงทุนด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปและการค้าสินค้าอาหารของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

แชร์:
Favorite (38)

25 สิงหาคม 2551

รายงานการศึกษาการลงทุนด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปและการค้าสินค้าอาหารของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สปป.ลาวได้ใช้ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม ตั้งแต่ปี 2518 และเริ่ปฏิรูประบบเศรษฐกิจเสรีเมื่อปี2529 โดยการใช้“นโยบายจินตนาการใหม่”(NEM : New Economic Mechanism) เน้นความสำคัญของระบบราคาที่เป็นไปตามกลไกตลาด และการบริหารในเชิงธุรกิจมากขึ้น อีกทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศมากขึ้น ในปี 2554-2558 สปป.ลาวจะอยู่ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 และได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะนำพาประเทศออกมาจากบัญชีรายชื่อประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (LeastDeveloped Countries : LDCs) ให้ได้ภายในปี2563
โอกาสทางการค้าที่ส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าระหว่างไทยกับ สปป.ลาว
     1. เศรษฐกิจของ สปป.ลาว มีอัตราการเติบโตในระดับสูง GDPGrowth ที่สูงขึ้นทุกปี ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อกำลังซื้อที่มากขึ้นด้วย
     2.รัฐบาลไทยมีนโยบายและกำหนดทิศทางความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านที่ชัดเจนและจริงจัง
     3.สปป.ลาว เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากLand Lock ไปสู่Land Linkด้วยเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก - ตะวันออก (East-West EconomicCorridor) ระหว่างพม่า-ไทย-สปป.ลาว-เวียดนาม (ระยะทางใน สปป.ลาว245 กม.) โดยมีสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 เป็นจุดเชื่อมไทย-ลาว ทำให้สปป.ลาวมีทางออกสู่ทะเลทั้งที่ท่าเรือแหลมฉบังของไทย และท่าเรือดานังของเวียดนามที่ทางเลือกในการขนถ่ายสินค้าออกสู่ตลาดโลก และเส้นทางหมายเลข R3Aที่เป็นเส้นทางแห่งหนึ่งในโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตามระเบียงเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) เชื่อมต่อระหว่างไทย (อ.เชียงของจ.เชียงราย) - สปป.ลาว (แขวงบ่อแก้ว แขวงหลวงน้ำทา) - จีน (สิบสองปันนา-คุนหมิง) เส้นทางใน สปป.ลาว ยาวประมาณ 247 กม. แล้วเสร็จเมื่อ ก.พ.2551 และเส้นทางในจีน แล้วเสร็จในปี 2552 โดยมีสะพานมิตรภาพแห่ง
ที่ 4 เป็นจุดเชื่อมไทย-ลาว (กำหนดแล้วเสร็จในปี 2555) ทำให้ สปป.ลาวกลายเป็นสะพานเชื่อมอินโดจีน (Land Bridge) ดังนั้น ถนนทุกสายจึงหันมาสนใจการลงทุนทำการค้ากับ สปป.ลาวมากขึ้น เพราะระบบ Logistics ที่มีการเปลี่ยนแปลงการคมนาคมขนส่งที่ถ่ายเทได้สะดวกขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มมอง สปป.ลาว ทะลุไปยัง เวียดนาม และจีน
     4. สปป.ลาว อยู่ท่ามกลางประเทศเศรษฐกิจดาวรุ่งทางเหนือติดจีน(ยูนนาน 43 ล้านคน) ตะวันตกเป็นไทย (65 ล้านคน) ด้านตะวันออกเป็นเวียดนาม (83 ล้านคน) และทางตอนใต้เป็นกัมพูชา (13 ล้านคน) เฉพาะตลาดตามรอยตะเข็บชายแดน มีประชาชนไม่ต่ำกว่า 200 ล้านคน กล่าวได้ว่า สปป.ลาว อยู่ท่ามกลาง “ทะเลคน” รอบด้านเป็นประเทศที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้น หากมีการบริหารจัดการที่ดีเป็นโอกาสในการฟื้นฟูประเทศได้อย่างรวดเร็ว
     5.สปป.ลาว จัดอยู่ในประเทศยากจนแต่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่ที่มีค่าเช่าถือครองที่ดินที่ไม่สูงมากนักและสามารถเช่าได้ในระยะเวลานานพอสมควร มีแร่ธาตุต่างๆ แทบทุกชนิดเช่น ถ่านหินลิกไนต์ ดีบุก ยิปซั่ม ตะกั่ว สังกะสี บ็อกไซต์เหล็ก ทองแดงอัญมณี ไปจนถึงเหมืองทองคำขนาดใหญ่ในเอเชีย ที่รู้จักในนามของเหมืองเซโปน แขวงสะหวันนะเขต เป็นเหตุให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนกันมากขึ้น
     6. สปป.ลาว มีนโยบายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ 20,000เมกกะวัตต์ต่อปี สปป.ลาว ถือว่าเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย แต่ปัจจุบันมีการใช้ไปเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น ในขณะนี้ทางไทยได้เข้าไปลง MOU เพื่อสร้างเขื่อนซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว หลายโครงการ อีก 5 ปีข้างหน้า มูลค่าการส่งออกไฟฟ้าของ สปป.ลาว อาจจะเกินดุลการค้ากับประเทศไทย
     7.ได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า
     8. โครงการ Contract Farming ทำให้ธุรกิจการเกษตรไทยเข้าไปลงทุนใน สปป.ลาว มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชผลทางการเกษตร ปศุสัตว์เป็นต้น
     9.มีการเจรจาแผนความร่วมมือ ทางการค้าระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาวในหลายเวทีเพื่อลดปัญหาอุปสรรคทางการค้าอำนวยความสะดวกให้เกิดความลื่นไหลทางการค้าเป็นระยะๆมากขึ้น
     10. สปป.ลาว มีเสถียรภาพทางการเมือง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูงและค่าแรงงานไม่แพงนัก
     11. มีชนเผ่าต่างๆ มากมายทำให้มีความหลากหลายทางด้านการท่องเที่ยว

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527