สวัสดี

รายงานวิจัย เรื่อง พัฒนาสินค้าให้โดนใจ เหตุใดจึงไม่ถามผู้บริโภค

แชร์:
Favorite (38)

23 กรกฎาคม 2557

การตั้งชื่อแปลกๆเก๋ๆ หรือ การตั้ง Category ใหม่ขึ้นมาในชั้นวางสินค้านั้น เป็นเรื่องที่สร้างความดึงดูดใจให้กับนักช้อบปิ้ง ท้าให้เกิดความสนใจตามหลักของแรงดึงดูด เมื่อสนใจแล้วก็อาจน้าไปจบที่การซื้อในที่สุด แต่สิ่งที่ทุกคนอาจจะลืมคิดไป นั่นคือ มันสามารถสร้างแค่การสนใจให้ซื้อครั้งแรกเท่านั้นหรือเปล่า แต่การที่คนจะกลับมาซื้อกินซ้้าอีกนั้น ปัจจัยส้าคัญคือ มันต้องถูกใจมากเพียงพอ และต้องรู้สึกคุ้มกับเงินที่จ่ายไปด้วย เอาล่ะสิ!! แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า “ถูกใจมากเพียงพอ และต้องรู้สึกคุ้มกับค่าเงินที่จ่ายไป” คือ ระดับไหน และอะไรเป็นตัวตัดสินว่าสินค้าของคุณพัฒนามาถูกทางแล้ว?

มีพ็อกเก็ตบุ๊คฝรั่งเล่มนึง ชื่อเรื่อง “The Lean Startup” คนเขียนชื่อ อีริค ขณะนี้เค้ามีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกแล้ว เค้าได้เปิดเผยเคล็ดลับลดความล้มเหลวในการท้าธุรกิจ โดยได้ระบุในงานเขียนว่า การน้าผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดเป็นเรื่องส้าคัญ ถ้าผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่โดนใจ อาจน้าไปสู่การล้มเหลวของธุรกิจได้ อีริคให้ความส้าคัญกับช่วงเริ่มต้นก่อนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่มาก โดยเฉพาะบริษัทตั้งใหม่ไซส์เล็กๆ ความส้าเร็จของผลิตภัณฑ์กลายเป็นปัจจัยตัดสินการอยู่รอดของธุรกิจเลยทีเดียว อีริค ได้เขียนไว้ว่า “ความส้าเร็จของผู้ประกอบการไม่ได้เกิดจากการมีพรสวรรค์หรือการอยู่ถูกที่ถูกเวลา ทว่าเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ด้วยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม นั้นก็หมายความว่ามันเป็นสิ่งที่เรียนรู้และถ่ายทอดให้กันได้” อย่างนี้แปลว่ามันมีแบบแผนของความส้าเร็จ อีกทั้งอีริคก้าลังบอกแนวทางใหม่ที่รองรับการสร้างนวัตกรรมสินค้าอย่างต่อเนื่องว่า “เราใช้ลูกค้าเป็นหนูทดลอง มากกว่าจะหาทางตอบสนองความต้องการของพวกเขาแต่แรก” บริษัทอิมวูคือบริษัทที่อีริคเป็นเจ้าของ มีจุดเด่นเรื่องวงจรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สั้นมาก การมุ่งเน้น สิ่งที่ลูกค้าต้องการ(โดยไม่ต้องไปถามพวกเขาทุกสิ่ง) และการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ประกอบการตัดสินใจ

ดังนั้นสิ่งที่ธุรกิจอาหารจ้าเป็นต้องท้าก่อนส่งสินค้าเข้าขายในช่องทางตลาด คือ การเอาแนวคิดผลิตภัณฑ์ไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบจ้าลองขึ้นมาจริงๆทั้ง ขนาด สี รสชาติ รวมถึงดีไซน์หีบห่อ จากนั้นจึงผลิตล็อตเล็กๆ จ้านวน 200-500 ชิ้น เพื่อเอามาทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายก่อน ด้วยการท้าแบบนี้ เราจะได้ฟังความคิดเห็น รับทราบถึงความชอบ ไม่ชอบของผู้บริโภคก่อนจะขายจริง

เพื่อให้การทดสอบเป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ลดอคติ ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ และเพื่อที่จะเรียนรู้และปฏิบัติตามได้อย่างง่ายๆ จะอธิบายโดยใช้กรณีศึกษาจริงประกอบ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527