สวัสดี

รายงานวิจัย เรื่อง วิธีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงฉลากอาหารให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อการส่งออก

แชร์:
Favorite (38)

16 กรกฎาคม 2558

โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารนำเข้าจากต่างประเทศที่แสดงข้อมูลอาหารด้วยภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่นอาจสร้างความสับสนและเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภคได้ ดังนั้น หน่วยงานผู้มีอำนาจในแต่ละประเทศจึงต้องออกกฎหมายควบคุมการแสดงข้อมูลบนฉลากอาหารในประเทศและบังคับใช้รวมถึงอาหารนำเข้า ตลอดจนก าหนดรูปแบบการปฏิบัติสำหรับการแสดงรายละเอียดต่างๆ บนภาชนะบรรจุอาหาร ให้สามารถนำไปใช้ในการจัดทำฉลากสินค้าอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับผู้บริโภคทุกวัยได้ซึ่งในที่นี้จะได้กล่าวถึงการแสดงฉลากที่สามารถผสมผสานกันได้

1. กฎหมายทั่วไปในการแสดงข้อมูลบนฉลากสินค้าอาหารเพื่อการส่งออก
กฎหมายการแสดงฉลากของสหรัฐอเมริกา ตามกฎหมายสหรัฐอเมริกามีบทบัญญัติว่าด้วยอาหาร ยา และเครื่องสำอาง หรือ The U.S. Federal Food, Drug and Cosmetic Act (FFDCA) กำหนดคำจำกัดความของ“Labeling” ซึ่งหมายถึงสิ่งที่เป็นฉลากทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นข้อความ สิ่งพิมพ์ กราฟิก หรือวัสดุสิ่งของใดๆ ที่ติด ผูกหรือ แขวนอยู่รวมกับภาชนะบรรจุอาหาร ซึ่งรวมถึงหากวัสดุเหล่านั้นมีความเกี่ยวข้องกับสินค้าอาหารที่อยู่ติดกันแต่ไม่รวมถึงของเล่น ของแถม แผ่นพับ โบรชัวร์ หนังสือโฆษณา เว็บไซต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีก 2 บทบัญญัติ
สำหรับควบคุมการติดฉลากที่เป็นธรรมแก่การผู้บริโภคและการแสดงข้อมูลโภชนาการ หรือ Fair Packaging andLabeling Act และ Nutrition Labeling and Education Act เพื่อกำหนดกฎระเบียบใหผูผลิตและผูจัดจำหนายไดปฏิบัติตามเปนมาตรฐานเดียวกัน และเป็นการคุมครองใหผูบริโภคให้ไดรับข้อมูลที่ถูกต้อง อันจะเปนประโยชน์ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย จุดเด่นของกฎระเบียบการแสดงฉลากอาหารของสหรัฐฯ คือการกำหนดบริเวณที่แสดงฉลาก 2 ส่วน คือ บริเวณแสดงสวนสำคัญ (Principal display panel) ที่เรียกโดยย่อว่า PDP และบริเวณแสดงขอมูล หรือ Information panel แต่ก็กำหนดรายละเอียดบนฉลากที่ต้องมี ได้แก่

1) ชื่อสามัญของอาหาร (Name of food)
2) ปริมาณสุทธิ(Net quantity of content) ในระบบ US เช่น oz หรือ pound
3) สถานที่ธุรกิจของผู้ผลิต ผู้บรรจุ หรือผู้กระจายสินค้า (Business name)
4) รายการส่วนประกอบซึ่งเรียงตามล าดับปริมาณมากน้อย (Ingredient list)
5) ข้อมูลแสดงคุณค่าทางโภชนาการ หรือ ฉลากโภชนาการ (Nutrition Fact)
6) วันหมดอายุ

ฉลากโภชนาการ ของสหรัฐฯ มีลักษณะรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ในการแสดงข้อความต่างๆ ทั้งกรอบการแสดงข้อมูล เส้นตาราง และขนาดตัวอักษร ดังรูปที่ 1 โดยมีส่วนประกอบดังนี้

(ก) ปริมาณการบริโภคต่อครั้ง หรือ Serving size
(ข) ปริมาณการบริโภคต่อหน่วยบรรจุ หรือ Serving per Container
(ค) ปริมาณสารอาหารต่อการบริโภคหนึ่งครั้ง หรือ Amount per serving ได้แก่
- Calories
- Total Fat แบ่งเป็น Saturated Fat และ Trans Fat
- Cholesterol
- Sodium
- Carbohydrate แบ่งเป็น Dietary fiber และ Sugar
- Protein
- วิตามินและแร่ธาตุที่จ าเป็น ได้แก่ Vitamin C, Vitamin A, Calcium และ Iron
(ง) เชิงอรรถท้ายตารางระบุร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ควรได้รับต่อวันนำสำหรับผู้ใหญ่ที่ 2,000 กิโลแคลอรี่

รูปที่ 1 ตัวอย่างฉลากโภชนาการของสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ฉลากโภชนาการที่อ้างอิงตาม 21 CFR 109 จะต้องมีรูปแบบตามที่ก าหนดไว้เท่านั้นซึ่งโดยทั่วไปคน ไทยจะคุ้นเคยกับฉลากโภชนาการลักษณะนี้อยู่แล้วเนื่องจากเป็นรูปแบบเดียวกับฉลากโภชนาการของไทย ที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดให้เป็นฉลากโภชนาการของไทยเช่นเดียวกัน ตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ.2541 เรื่องฉลากโภชนาการ โดยมีข้อแตกต่างที่ชนิดของร้อยละของ ปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับต่อวันด้านท้ายตาราง โดยประเทศไทยให้ความสำคัญกับการได้รับวิตามินบีหนึ่ง และ วิตามินบีสองแทนวิตามินเอและวิตามินซีของสหรัฐฯ

กฎหมายการแสดงฉลากของสหภาพยุโรป ส าหรับกฎหมายของสหภาพยุโรป มีระเบียบการแสดงข้อมูล อาหารสำหรับผู้บริโภค หรือ REGULATION (EU) No 1169/2011 OF THE EUROPEAN PARLIAMENT AND OF THE COUNCIL of 25 October 2011 on the provision of food information to consumers, amending Regulations (EC) No 1924/2006 and (EC) No 1925/2006 of the European Parliament and of the Council, and repealing Commission Directive 87/250/EEC, Council Directive 90/496/EEC, Commission Directive 1999/10/EC, Directive 2000/13/EC of the European Parliament and of the Council, Commission Directives 2002/67/EC and 2008/5/EC and Commission Regulation (EC) No 608/2004 เรียกอย่างย่อว่า FIC (Food information to consumer) หรือ ระเบียบการ แสดงข้อมูลอาหารสดหรับผู้บริโภค โดยกำหนดคำจำกัดความของ Food information “ข้อมูลอาหาร” หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวกับอาหารและข้อมูลที่จัดให้แก่ผู้บริโภคผ่านทางฉลาก เอกสารแนบอื่นๆ หรือด้วยวิธีการอื่นใดที่รวม เครื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่หรือการสื่อสารด้วยวาจา จะเห็นว่าไม่ได้มีเพียงแต่ข้อความบนหีบห่อภาชนะบรรจุเท่านั้น แต่สหภาพยุโรปได้รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่สามารรถจะให้แก่ผู้บริโภคผ่านช่องทางต่างๆ ได้ด้วย ส่วน Labelling “การติดฉลาก” จะหมายถึง ข้อความ รายการ เครื่องหมายการค้า ชื่อยี่ห้อ รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับอาหารและติดไว้บนหีบห่อ เอกสาร ประกาศ ฉลาก ห่วงหรือปกที่มาพร้อมกับหรืออ้างถึงอาหารดังกล่าว เท่านั้น

สำหรับรายละเอียดของฉลากอาหารที่บังคับต้องมี รวม 12 รายการ อันได้แก่

1) ชื่ออาหาร (Name of food)

2) รายการส่วนประกอบ (Ingredients list)

3) ส่วนประกอบของส่วนผสม (Compound ingredients) หรือสารช่วยในกระบวนการผลิต ซึ่งอาจ ก่อให้เกิดการแพ้อาหารหรือภูมิแพ้ซึ่งได้น ามาใช้ในการผลิตหรือจัดเตรียมอาหารและยังคงมีอยู่ใน ผลิตภัณฑ์นั้นแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปไปแล้วก็ตาม

4) ปริมาณของส่วนประกอบหรือกลุ่มของส่วนประกอบบางอย่าง (Quantity of certain ingredients) ในลักษณะเฉพาะหรือมีผลต่อลักษณะโดยรวมของอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ในเบอเกอร์เนื้อ

5) ปริมาณสุทธิของอาหาร (Net quantity of food) ในระบบเมตริก

6) วันหมดอายุหรือวันที่ควรบริโภคก่อน (Date of minimum of durability or use by date)

7) วิธีการเก็บรักษาพิเศษ และ/หรือ วิธีการใช้(Special storage condition)

8) ชื่อ หรือชื่อทางธุรกิจ และที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจอาหาร (Name or business name or address)

9) ประเทศที่เป็นแหล่งก าเนิดหรือแหล่งที่มาของสินค้า (Country of origin)

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527