สวัสดี

การทำสาโทเพื่อเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์

แชร์:
Favorite (38)

19 กุมภาพันธ์ 2559

 ชื่อเรื่อง     : การทำสาโทเพื่อเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์ 
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง     : นางสาวสุวนา ว่องเกื้อกูล นางสาว อรวรรณ ป้องวิเศษ 
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา     : ดร. วิมลศิริ พรทวีวัฒน์ 
ที่มา     : ปัญหาพิเศษ เรื่อง การทำสาโทเพื่อเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปีการศึกษา 2544 
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม     : หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 
กลุ่มสินค้า     : 1551 สุราและเครื่องดื่มที่ได้จากเอทิลแอลกอฮอล์ 
เทคโนโลยี     : เทคโนโลยีชีวภาพและการหมัก 
Keyword     : สาโท ข้าวเหนียว ลูกแป้งข้าวหมาก ยีสต์ การหมัก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

การทำสาโทเพื่อเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์

สาโทเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พื้นบ้านที่ได้จากการหมักข้าวเหนียวด้วยลูกแป้งเหล้า คุณภาพของสาโทขึ้นอยู่กับลูกแป้ง โดยปกติลูกแป้งเหล้าในการหมักสาโทจะประกอบด้วยกล้าเชื้อ 2 ชนิดผสมกัน คือ เชื้อราและเชื้อยีสต์ ทำให้เกิดการสร้างน้ำตาลและแอลกอฮอล์เกิดขึ้นพร้อมๆกัน ปริมาณแอลกอฮอล์จึงต่ำ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการปรับปรุงการทำสาโทเพื่อเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์ โดยแบ่งช่วงการหมักออกเป็น 2 ช่วงที่เหมาะสมกับการทำงานของเชื้อ โดยขั้นแรกเปรียบเทียบความสามารถในการย่อยแป้งของเชื้อ จุลินทรีย์ และคุณสมบัติของลูกแป้งข้าวหมากจาก 3 แหล่ง คือ ลูกแป้งจากสุรินทร์ ลูกแป้งจากบางปะกอก และลูกแป้งจากบางแค พบว่า ลูกแป้งจากสุรินทร์ให้ปริมาณ Reducing sugar สูงถึง 169.54 mg/ml รองลงมาคือลูกแป้งจากบางปะกอกและบางแค ให้ปริมาณ Reducing sugar 155.35 mg/ml และ 143.56 mg/ml ตามลำดับ เมื่อทดสอบความสามารถในการย่อยแป้งพบว่า ลูกแป้งจากสุรินทร์สามารถย่อยแป้งได้ดีกว่าจากอีก 2 แหล่ง แสดงว่าลูกแป้งจากสุรินทร์มีเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสร้างเอนไซม์อะไมเลสเพื่อย่อยแป้งเป็นน้ำตาลได้ดีที่สุด

ในขั้นตอนการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ ได้เปรียบเทียบการหมักสาโทโดยการเติมยีสต์และไม่เติมยีสต์ของลูกแป้งข้าวหมากจากทั้ง 3 แหล่งพบว่าการหมักสาโทโดยการเติมยีสต์จะได้ปริมาณแอลกอฮฮล์มากกว่าวิธีที่ไม่เติมยีสต์ และสาโทที่หมักด้วยลูกแป้งจากสุรินทร์มีปริมาณแอลกอฮอล์สูงสุด คือ 15.9 % รองลงมาคือ สาโทที่หมักด้วยลูกแป้งจากบางปะกอกและบางแค มีปริมาณแอลกอฮอล์ 14.3 % และ 12.1 % ตามลำดับ

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527