สวัสดี

ผลของอุณหภูมิและสภาพบรรยากาศดัดแปลงต่อคุณภาพการเก็บรักษาของชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์

แชร์:
Favorite (38)

19 กุมภาพันธ์ 2559

 ชื่อเรื่อง     : ผลของอุณหภูมิและสภาพบรรยากาศดัดแปลงต่อคุณภาพการเก็บรักษาของชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ 
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง     : นายสมพร สายกลิ่น 
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา     : ผศ.ดร.ศิริชัย กัลยาณรัตน์ และ อ. ทรงศิลป์ พจน์ชนะชัย 
ที่มา     : วิทยานิพนธ์เรื่องผลของอุณหภูมิและสภาพบรรยากาศดัดแปลงต่อ คุณภาพการเก็บรักษาของชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ สายวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ 
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม     : สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร 
กลุ่มสินค้า     : 1513 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ 
เทคโนโลยี     : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว 
Keyword     : ชมพู่ ทับทิมจันท์ อุณหภูมิ บรรยากาศ ฟิล์มพลาสติก 

ผลของอุณหภูมิและสภาพบรรยากาศดัดแปลง ต่อคุณภาพการเก็บรักษาของชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์

ชมพู่จัดเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคกันโดยทั่วไป รวมทั้งมีการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศที่สำคัญ เช่นฮ่องกง สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยเฉพาะชมพู่พันธุ์ทับทินจันท์ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในการบริโภคอย่างมาก ด้วยลักษณะของเนื้อผลที่กรอบ ความแน่นเนื้อสูง ผลมีขนาดใหญ่ 6-9 ผลต่อกิโลกรัม อีกทั้งราคาที่สูง คือ 70-80 บาทต่อผล (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2542) จึงคาดว่าการศึกษาวิธีหรือแนวทางการยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ ซึ่งมีผิวเปลือกที่บาง และมีปริมาณน้ำสูงถึง 90-95% จึงมี โอกาสเสียหายจากรอยช้ำและจุลินทรีย์สามารถเข้าทำลายได้ง่าย

จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิต่ำ มีส่วนช่วยในการชะลอกระบวนการเมทาบอลิซึม (metabolism) กล่าวคือ มีการหายใจที่ลดลง ชะลอการใช้อาหารที่สะสมในผลไม้และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งทาง กายภาพ เคมีและจุลินทรีย์ อีกทั้งการเก็บรักษาในบรรจุภัณฑ์ดัดแปลงบรรยากาศหรือ modified atmosphere packaging (MAP) เช่น การบรรจุในถาดหุ้มฟิล์มพลาสติก การบรรจุในถุงพลาสติก หรือใช้ร่วมกันกับการเคลือบผิวของผลไม้โดยตรง แต่เนื่องจากผลไม้แต่ละชนิด มีความทนทานต่ออุณหภูมิต่ำได้แตกต่างกัน ปริมาณก๊าซบางชนิดที่มากไป อาจส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์บางชนิด เช่นเดียวกันกับการใช้ฟิล์มพลาสติก ซึ่งต้องคำนึงถึงความหนา ความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซต่างๆ และการซึมผ่านของไอน้ำ ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาถึงอุณหภูมิ การเคลือบผิวและฟิล์มพลาสติกที่เหมาะสม ต่อการยืดอายุการเก็บรักษาผลชมพู่ ซึ่งการดำเนินการเพื่อการยืดอายุการเก็บรักษาชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ที่เหมาะสมมีดังต่อไปนี้

1. วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์

1.1 ชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ เก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 45 วัน ขนาดผลเบอร์ 3 (8-9 ผลต่อกิโลกรัม) ปราศจากตำหนิ ความช้ำ รอยแผลต่างๆ

1.2 สารละลายโพแทสเซียมเมตาไบซัลไฟท์ (potassium metabisulfite) ความเข้มข้น 200 ส่วนในตัว ทำละลายล้านส่วน (ppm)

1.3 สารละลายของ sucrose fatty acid ester (SFAE) ความเข้มข้น 0.5% (น้ำหนักสาร/ปริมาตรน้ำกลั่น)

1.4 ฟิล์มพลาสติกชนิด Linear Low Density Polyethylene (LLDPE) ความหนา 15 ไมโครเมตร

1.5 กล่องพลาสติกชนิด PVC ขนาด 30 x 21 x 11 ซม3

 

3. สรุปผลการดำเนินการ

การเคลือบผิวชมพู่ด้วยสาร sucrose fatty acid ester ช่วยให้ลักษณะของผิวชมพู่มีความเงา ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค การเคลือบผิวที่ความเข้มข้นของสาร 0.5% เพียงพอต่อการชะลอการสูญเสีย น้ำหนัก ความแน่นเนื้อ และยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์สาเหตุของโรคชมพู่ ในระหว่างการเก็บรักษาได้ดีกว่าที่ความเข้มข้น 1.0 และ 1.5%

และการใช้ฟิล์มพลาสติก LLDPE หนา 15 ไมโครเมตร สามารถลดการเน่าเสีย โดยลดอัตราการหายใจ การสูญเสียน้ำหนัก ความแน่นเนื้อ การเปลี่ยนแปลงสีผิว ยับยั้งการเกิดโรค ตลอดจนผู้บริโภคให้การยอมรับในด้านคุณภาพต่างๆ ซึ่งสูงกว่าชมพู่ที่ใช้ฟิล์ม LLDPE ความหนา 10, 20 และ ฟิล์ม PVC หนา 13 ไมโครเมตร อีกทั้งยังสามารถเก็บรักษาได้นานถึง 25 วัน

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527