สวัสดี

การยืดอายุการเก็บรักษากะหล่ำปลี และแตงกวาที่ผ่านการแปรรูปขั้นต่ำ โดยการฉายรังสีแกมมา

แชร์:
Favorite (38)

19 กุมภาพันธ์ 2559

 ชื่อเรื่อง     : การยืดอายุการเก็บรักษากะหล่ำปลี และแตงกวาที่ผ่านการแปรรูปขั้นต่ำ โดยการฉายรังสีแกมมา 
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง     : By Khattak et al. Nuclear Institute for Food and Agriculture, Peshawar, Pakistan 
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา     : Nizakat Bibi, Muhammad Ashraf Chaudry, Misal Khan, Maazullah Khan and Muhammad Jamil Qureshi 
ที่มา     : รายงานการวิจัยเรื่อง การยืดอายุการเก็บรักษากะหล่ำปลี และแตงกวาที่ผ่านการแปรรูปขั้นต่ำโดยการฉายรังสีแกมมา 
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม     : ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรุงเทพมหานคร 
กลุ่มสินค้า     : 1513 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ 
เทคโนโลยี     : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว 
Keyword     : แตงกวา กะหล่ำปลี การแปรรูปขั้นต่ำ การฉายรังสี แกมมา 

 

การยืดอายุการเก็บรักษากะหล่ำปลี และแตงกวาที่ผ่านการแปรรูปขั้นต่ำ

โดยการฉายรังสีแกมมา

ผลิตภัณฑ์ผัก ที่ผ่านการแปรรูปเพียงเล็กน้อย หรือการแปรรูปขั้นต่ำ เช่น การล้าง ปอกเปลือก หรือหั่น เป็นต้น โดยการแปรรูปดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผัก เช่นกลิ่นรส ลักษณะเนื้อสัมผัสและลักษณะปรากฏ แต่มักจะมีอายุการเก็บรักษาที่ไม่นานนัก คือประมาณ 7-8 วัน ที่การเก็บในอุณหภูมิการแช่เย็น

ในด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ผักสดแปรรูปขั้นต่ำกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากความสะดวก ความสด และประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งจากการศึกษานี้ ได้เลือกที่จะศึกษาในกะหล่ำปลี และแตงกวา โดยสามารถสรุปขั้นตอนการแปรรูปขั้นต่ำ ด้วยการฉายรังสีได้ดังนี้

จากแผนภูมิแท่งดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า กลิ่นรสของแตงกวาที่ได้รับรัวสีในปริมาณความเข้มที่ ต่างกัน มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ต่างกัน พบว่าในวันแรก แตงกวาที่ไม่ได้รับรังสี มีคะแนนด้าน กลิ่นรสสูงสุด แต่เมื่อระยะการเก็บรักษา 14 วัน พบว่า คะแนนดังกล่าว ลดลงเป็นอย่างมาก ต่างจาก ผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับรังสีทั้งสองระดับความเข้ม ที่ยังคงระดับคะแนนไว้อย่างคงที่

และจากการศึกษาพบว่าการฉายรังสีแกมมาที่ระดับความเข้ม 2.5 kGy มีความสามารถเพียงพอในการรักษาคุณภาพของแตงกวาและกะหล่ำปลี ทั้งในด้าน ลักษณะปรากฏ กลิ่นรส ความเต่งตึง เชื้อรา และ Coliform ทั้งหมด

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527