สวัสดี

Hot issue

‘‘อาหาร’’ ของฝากอะไร ในยุคที่ไทยท่องเที่ยวบูม

มิถุนายน 2566

รายละเอียด :

ในปี 2566 หลังโควิด-19 การท่องเที่ยวไทยบูมสุดขีด กรุงเทพฯ และประเทศไทยกลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับต้นๆ ของผู้คนทั่วโลก ในช่วง 6 เดือนแรก นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมายังประเทศไทยมีจำนวนสูงถึง 12.9 ล้านคน เพิ่มขึ้น 520% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดการณ์ว่าแนวโน้มท่องเที่ยวไทยช่วงครึ่งปีหลังจะยังคงเติบโตได้ดี และสิ้นปี 2566 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยตลอดปี 2566 ไม่น้อยกว่า 25 ล้านคน สร้างรายได้รวมสูงสุดอยู่ที่ 2.38 ล้านล้านบาท

อาหารและเครื่องดื่ม เป็นสินค้าที่ได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในปี 2562 ก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 แต่ละวันใช้จ่ายเฉลี่ย 5,172 บาทต่อวัน โดยเป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงค่าซื้อสินค้าที่ระลึก/ของฝาก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ถ้าอ้างอิงจากสัดส่วนดังกล่าว นั่นหมายความว่า สิ้นปี 2566 ประเทศไทยจะมีรายได้จากอาหารและเครื่องดื่มที่มาจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านบาท หากท่านเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอาหาร มาดูกันว่า เราควรต้องปรับกลยุทธ์ในเชิงของสินค้าและกลุ่มเป้าหมายอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์การท่องเที่ยวที่คึกคัก

 

ในช่วง 6 เดือนแรก นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมายังประเทศไทยมีจำนวนสูง คือ กลุ่มประเทศอาเซียน มีจำนวน 4.5 ล้านคน หรือร้อยละ 35 ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป 23% นักท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก (ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน) 14% นักท่องเที่ยวชาวจีน 11% นักท่องเที่ยวอินเดีย 6% นักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน 4% และนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมตะวันออกกลาง 2%

นักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มมีระยะเวลาพำนักโดยเฉลี่ยต่อทริปแตกต่างกัน ในภาพรวมระยะเวลาพำนักโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอยู่ที่ 9.26 วันต่อคนต่อทริป โดยนักท่องเที่ยวชาวยุโรป สหรัฐฯ และตะวันออกกลาง จัดเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวระยะยาว มีระยะเวลาพำนักโดยเฉลี่ยต่อทริปนานที่สุด คือ 16.8 วัน 14.5 วัน และ 12.9 วัน ตามลำดับ ส่วนใหญ่จะลาพักร้อนเดินทางท่องเที่ยว ทั้งท่องเที่ยวทั่วไป ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมถึงเพื่อหลบสภาพอากาศหนาวเย็นในประเทศบ้านเกิดมายังประเทศไทย ส่วนนักท่องเที่ยวชาวชาวตะวันออกกลางจำนวนไม่น้อยที่เดินทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health care) ทำให้ระยะเวลาพำนักต่อทริปนานกว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวในภูมิภาคที่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวระยะสั้นที่ใช้ระยะเวลาเดินทางไม่ไกลมาก 3-5 ชั่วโมง อย่างอาเซียน จีน เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ (อินเดีย) ที่มีระยะเวลาพำนักโดยเฉลี่ยสั้นกว่าประมาณ 5-8 วันต่อทริป

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527