สวัสดี

Hot issue

บทบาทค่าแรงขั้นต่ำ กับ การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทย

มีนาคม 2566

รายละเอียด :

ในอดีตประเทศไทยมีการปรับค่าจ้างแรงงานแบบก้าวกระโดดมาแล้วในช่วงปี 2555-2556 โดยมีการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน หรือมีการปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 จากเดิมในปี 2554 ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำอยู่ที่ 221 บาทต่อวัน การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวเพิ่มขึ้นในอัตราเท่าทุกจังหวัด ล่าสุดในปี 2565 มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 5.0 หรือเป็น 328-354 บาทต่อวัน จังหวัดที่ได้ค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุด 354 บาท ได้แก่ ระยอง ภูเก็ต ชลบุรี

โครงสร้างต้นทุนค่าจ้างในอุตสาหกรรมอาหารเทียบกับสาขาอื่น

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารมีสัดส่วนต้นทุนค่าจ้างร้อยละ 6 ของต้นทุนรวม สูงกว่าต้นทุนค่าจ้างในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีสัดส่วนต้นทุนค่าจ้างร้อยละ 3 และ 5 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนต้นทุนค่าจ้างสูงกว่า   อุตสาหกรรมอาหาร เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มีสัดส่วนต้นทุนค่าจ้างร้อยละ 11 และ 15 ตามลำดับ ดังนั้น การเพิ่มขึ้นค่าจ้างในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี จึงมีระดับผลกระทบน้อยกว่าอุตสาหกรรมที่อาศัยแรงงาน (Labor incentive) เช่น อุตสาหกรรมอาหาร หรืออุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

 

กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบมากจากต้นทุนค่าจ้าง

การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแบบก้าวกระโดดจะกระทบกลุ่มทูน่า กุ้ง อาหารทะเลแช่แข็ง ผักผลไม้แปรรูป   มากที่สุด เพราะใช้แรงงานในสายการผลิตจำนวนมาก การนำเครื่องจักรเทคโนโลยีการผลิตมาใช้ทำได้ยากกว่าสาขาอื่น ทั้งนี้อุตสาหกรรมอาหารมีหลากหลายสาขา แต่ละสาขาอุตสาหกรรมมีสัดส่วนต้นทุนค่าจ้างแตกต่างกันออกไป โดยหลักแล้วอุตสาหกรรมสาขาที่พึ่งพิงแรงงานมาก โดยเฉพาะแรงงานไร้ทักษะ (Unskilled labor)      ในสัดส่วนที่สูง มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบมากกว่าสาขาที่เน้นการใช้เทคโนโลยีในการผลิต จากการพิจารณาพบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนต้นทุนค่าจ้างต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรมอาหารโดยรวม (6%) เช่น อุตสาหกรรมเครื่องดื่มอยู่ที่ร้อยละ 5 อุตสาหกรรมนมอยู่ที่ร้อยละ 4 และอุตสาหกรรมมน้ำมันถั่วเหลืองอยู่ที่ร้อยละ 1 เป็นต้น

ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนต้นทุนค้าจ้างสูงกว่าภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร เช่น อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์อยู่ที่ร้อยละ 34 ชาชงสมุนไพรอยู่ที่ร้อยละ 29 การผลิตปลาบรรจุกระป๋องอยู่ที่ร้อยละ 11 ผลไม้และผักบรรจุกระป๋องอยู่ที่ร้อยละ 8 เป็นต้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำจึงส่งผลต่ออุตสาหกรรมในกลุ่มแรกน้อยกว่าอุตสาหกรรมกลุ่มหลัง

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527