พฤษภาคม 2561
ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบในสังคมปัจจุบันทำให้คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานฟาสต์ฟู้ด (Fast food) กันมาก อุตสาหกรรมอาหารฟาสต์ฟู้ดจึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีร้านอาหารประเภทนี้ผุดขึ้นแทบทุกหัวถนน อย่างไก่ชุบแป้งทอดหนังกรอบ หรือโดนัทแป้งนุ่ม ๆ ชวนลิ้มลอง เชื่อได้ว่าเมนูดังกล่าวเป็นเมนูโปรดของใครหลายคน ซึ่งแน่นอนว่าอาหารเหล่านี้มีไขมันเป็นส่วนประกอบ
ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบในสังคมปัจจุบันทำให้คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานฟาสต์ฟู้ด (Fast food) กันมาก อุตสาหกรรมอาหารฟาสต์ฟู้ดจึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีร้านอาหารประเภทนี้ผุดขึ้นแทบทุกหัวถนน อย่างไก่ชุบแป้งทอดหนังกรอบ หรือโดนัทแป้งนุ่ม ๆ ชวนลิ้มลอง เชื่อได้ว่าเมนูดังกล่าวเป็นเมนูโปรดของใครหลายคน ซึ่งแน่นอนว่าอาหารเหล่านี้มีไขมันเป็นส่วนประกอบ
ไขมันก็เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย นอกจากไขมันจะเป็นแหล่งให้พลังงานของร่างกายแล้ว ร่างกายยังจำเป็นต้องได้รับกรดไขมันที่จำเป็นในอาหาร และช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน(Fat-soluble Vitamins) ได้แก่ วิตามินเอ อี ดี และวิตามินเค รวมทั้งแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) แต่การรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินพอดี อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ชนิดและปริมาณในการบริโภคไขมันจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูงจะลดอัตราเสี่ยงต่อความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการอุดตันของหลอดเลือด จนเกิดเป็นภาวะของโรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ทางด้านอาหารและสุขภาพจึงได้รณรงค์ให้ผู้บริโภคใช้ไขมันไม่อิ่มตัว แทนไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ เช่น ใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันหมู รวมทั้งให้ความสนใจไขมันที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ซึ่งเป็นไขมันตัวที่ร้ายที่สุด เมื่อรับประทานเข้าไปนอกจากจะอ้วนแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ อาจถึงขั้นความจำเสื่อมได้ ไขมันที่ว่านั้น คือ ไขมันทรานส์ (Trans Fat) โดยมีงานวิจัยระบุว่าเมื่อเปรียบเทียบไขมันทรานส์กับไขมันอิ่มตัวจากหน่วยบริโภคในปริมาณเท่ากัน ไขมันทรานส์จะส่งผลให้ผู้บริโภค มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้นถึง 10 เท่า (ปิยะมิตร ศรีธรา, 2552; Tony, 2009)
download PDF ย้อนกลับ