กันยายน 2559
ประเทศออสเตรเลียนับเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในด้านมาตรฐานความปลอดภัยอาหารในระดับสากล โดยมีหน่วยงานพัฒนาระเบียบและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง คือ Food Standards Australia New Zealand (FSANZ) ที่พัฒนา “Food Standards Code” ที่ใช้ร่วมกัน 2 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ทั้งนี้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงแคนเบอร์ราได้มีรายงานว่า หน่วยงานรับผิดชอบภาครัฐของออสเตรเลียได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบใหม่สำหรับการแสดงฉลากสินค้าอาหาร โดยเป็นการให้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า
ประเทศออสเตรเลียนับเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในด้านมาตรฐานความปลอดภัยอาหารในระดับสากล โดยมีหน่วยงานพัฒนาระเบียบและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง คือ Food Standards Australia New Zealand (FSANZ) ที่พัฒนา “Food Standards Code” ที่ใช้ร่วมกัน 2 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ทั้งนี้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงแคนเบอร์ราได้มีรายงานว่า หน่วยงานรับผิดชอบภาครัฐของออสเตรเลียได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบใหม่สำหรับการแสดงฉลากสินค้าอาหาร โดยเป็นการให้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า ทั้งนี้ ไม่ประสงค์ให้ผู้ผลิตสินค้าต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น ซึ่งสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ได้แก่ ฉลากสำหรับอาหารส่วนใหญ่ที่ปลูก (Grown) ผลิต (Produced) หรือทำ (Made) ในออสเตรเลียจะต้องมีสัญญลักษณ์ รูปจิงโจ้ในกรอบสามเหลี่ยม พร้อมทั้งกราฟแท่งและข้อความแสดงสัดส่วนองค์ประกอบจากออสเตรเลีย
แนวทางการแสดงฉลาก COOL ภายใต้ข้อบังคับ
สำหรับมาตรการติดฉลากแหล่งกำเนิดสินค้าของประเทศออสเตรเลียที่ได้มีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่นั้นจะถูกควบคุมอยู่ภายใต้กฎหมายผู้บริโภค Australian Consumer Law (ACL) ซึ่งแต่เดิมนั้นจะอยู่ภายใต้ Food Standards Code โดยจะส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรและอาหารทุกชนิด แต่จะไม่ครอบคลุมอาหารที่จำหน่ายในภัตตาคาร ร้านกาแฟ ร้านอาหารสาหรับซื้อกลับบ้าน หรือโรงเรียน ทั้งนี้ หากเป็นอาหารที่ได้รับการจัดลำดับให้มีความสาคัญ (Priority foods) จะต้องเพิ่มรูปภาพและข้อมูลตามที่กำหนด (เช่น โลโก้ กราฟแท่ง และข้อความภายในกรอบสี่เหลี่ยม) ส่วนสินค้าอาหารที่ไม่ใช่สินค้าที่สำคัญ (Non-priority foods) สามารถระบุข้อมูลเพิ่มเติมใหม่นี้ได้ตามความสมัครใจ โดยที่สินค้าในกลุ่มนี้จะกำหนดให้ต้องแสดงข้อความแสดงแหล่งกำเนิดสินค้าบนฉลากเท่านั้น สินค้าที่จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าไม่สำคัญ ได้แก่
โดยการแสดงฉลาก COOL นั้น ถูกกำหนดการแสดงผ่านสัญลักษณ์สามเหลี่ยมสีเขียวที่ภายในเป็นรูปจิงโจ้สีทอง ประกอบข้อความที่แสดงให้เห็นถึงว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆมีส่วนประกอบหรือผลิตในประเทศออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังมีข้อความและแผนภูมิรูปภาพที่แสดงให้เห็นสัดส่วนของส่วนประกอบจากออสเตรเลียอย่างชัดเจน
การบังคับใช้และผลกระทบ
การเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2559 โดยมีระยะเวลาผ่อนผันให้กับผู้ประกอบการ เป็นเวลา 2 ปี ในการเปลี่ยนฉลากให้เป็นไปตามข้อกาหนดใหม่ หรือภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2561
สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในฉลาก COOL ครั้งนี้ จะส่งผลให้ผู้บริโภคในประเทศจะสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งที่มาของวัตถุดิบในสินค้าอาหารที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการตัดสินใจและมีความมั่นใจในการซื้อสินค้าอาหารเพิ่มมากขึ้น และยังสามารถตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมในรูปแบบดิจิตอลได้อีกด้วย อีกทั้งผู้ผลิตสินค้าอาหารในประเทศจะได้รับประโยชน์จากการปิดฉลากแสดงถิ่นกำเนิดสินค้าอาหารแบบใหม่ เนื่องจากผู้บริโภคให้การยอมรับในคุณภาพ ความปลอดภัยและสิทธิมนุษยชนในตลาดแรงงานออสเตรเลียว่ามีมาตรฐานสูง และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันกับสินค้านำเข้า
แต่อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าที่ปิดฉลากแสดงถิ่นกำเนิดของสินค้าอาหารแบบใหม่ที่จำหน่ายในประเทศอาจจะมีราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนในการติดฉลาก ทำให้เกิดเป็นข้อเปรียบเทียบในกลุ่มผู้บริโภคที่มีงบประมาณจำกัดในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งอาจจะเป็นเด็นที่ผู้ผลิตจะต้องนำไปแก้ไขเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ผู้บริโภค ให้เกิดแรงจูงใจในการซื้อสินค้าที่มีฉลาก COOL
สำหรับประเทศไทย ควรสร้างความรับรู้ต่อภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าที่ได้รับตรา Made in Thailand เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะมีผลกระทบในทางลบกับภาพลักษณ์สินค้าที่ made in Thailand
เอกสารอ้างอิง :
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, “จิงโจ้” ยกเครื่องฉลาก “COOL” ใหม่หมดจด, Early Warning ปีที่ 8 ฉบับที่ 83 เดือนกรกฎมคา 2559
download PDF ย้อนกลับ