มิถุนายน 2549
องค์การการค้าโลกหรือ WTO ได้รับแจ้งมาตรการทางสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS Notification) ของเดือนธันวาคมที่ผ่านมาจากสํานักงานอาหารและยาของเกาหลีใต้ (Korea Food and Drug Administration) ซึ่งกําหนดปริมาณสูงสุดของสารที่อนุญาตให้มีได้
(Maximum Residue Limits: MRLs) ของสาร Methyl mercury ในผลิตภัณฑ์ในปลาทะเลน้ำลึกรวมปลาทูน่าและ Billfish ต้องไม่เกิน 1.0 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ppm) จากเดิมที่กําหนดไว้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในปี 2547 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ทูน่าไปเกาหลีใต้รวมทั้งสิ้น 22.37 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.14 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ทูน่าทั้งหมด หากเกาหลีใต้นํามาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัย พืชที่ได้ประกาศในครั้งนี้มาใช้น่าจะทําให้ผลิตภัณฑ์ทูน่า และผลิตภัณฑ์ปลาทะเลน้ำลึกอื่นๆ (Deep-sea fish) ของไทยที่ได้ผ่านการตรวจสอบสาร Methyl mercury ตกค้าง มีโอกาสในการส่งออกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามประกาศฉบับนี้ยังอยู่ในระหว่างรอข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นจากประเทศสมาชิก ของ WTO สําหรับประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกและผู้ส่งออกทูน่าคงต้องติดตามความเคลื่อนไหว อย่างใกล้ชิดหากเกาหลีใต้ประกาศใช้มาตรการนี้อย่างเป็นทางการ
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
1
มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS Agreement) คือมาตรการที่กําหนดขึ้นโดยพระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง คําสั่ง ระเบียบ วิธีปฏิบัติและระเบียบ ขั้นตอน วัตถุประสงค์เพื่อการคุ้มครองสุขอนามัยคนหรือสัตว์จากความเสี่ยงด้านอาหาร คุ้มครองสุขอนามัยคนจากโรคติดต่อจากสัตว์หรือพืช คุ้มครองสัตว์หรือพืชจากโรคสัตว์และศัตรูพืช/สัตว์โดยประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกต้องแจ้ง (Notification) การบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชให้ประเทศสมาชิกอื่นๆได้ทราบ เพื่อให้ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวมีเวลาเตรียมการและปรับตัวให้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่ประเทศนั้นๆ กําหนดขนึ้ 2 WTO (G/SPS/N/KOR/196) ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2548