1. รูปแบบของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอียิปต์สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสินค้าหลักได้ ดังนี้
o เบียร์ (Beer)
o ไซเดอร์ (Cider) คือ น้ำผลไม้ที่ผ่านกระบวนการหมัก หรือบ่มกับยีสต์ ซึ่งโดยมากจะทำจากแอปเปิ้ล หรือผลไม้อื่น ๆ เช่น สตรอเบอร์รี่ มะนาว และหากทำจากลูกแพร์จะเรียกว่า เพอร์รี่ (Perry) หรือ แพร์เพอร์รี่ (Pear Perry)
o เครื่องดื่มที่สามารถดื่มได้ทันที (Ready to Drink: RTDs) โดยไม่ต้องปรุงหรือผสมกับเครื่องดื่มอื่นอีก และเครื่องดื่มที่มีความแรงของแอลกอฮอล์สูง (High-Strength Premixes)
o สุรา (Spirit) คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการกลั่น ได้แก่ บรั่นดี วิสกี้ ยิน รัม วอดก้ำ เตกีล่า
o ไวน์ (Wines)
ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่พบข้อมูลการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทไซเดอร์ และเพอร์รี่ในตลาดอียิปต์ โดยการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอียิปต์ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
o On trade คือ การจำหน่ายสินค้าผ่านธุรกิจบริการ เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม ร้านกาแฟและบาร์ เป็นต้น
o Off-trade คือ การจำหน่ายสินค้าผ่านธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก ทั้งห้างการค้าสมัยใหม่ (Modern trade) เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้าน Forecourt และห้างค้าปลีกแบบดั้งเดิม เช่น ร้านจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่าง ร้านขายของชำอิสระขนาดเล็ก เพื่อให้ผู้บริโภคซื้อกลับไปดื่มที่บ้าน ทั้งนี้ ยังไม่พบ ข้อมูลการจำหน่ายผ่านธุรกิจค้าปลีกแบบไม่มีหน้าร้าน อาทิ ตู้ขายอัตโนมัติ (Vending) ผ่านอินเทอร์เน็ต