1.1 ข้อมูลพื้นฐาน
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) หรือ ฟิลิปปินส์ (the Philippines) มีพื้นที่ 300,000 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 3 ใน 5 ของประเทศไทย) พื้นดิน 298,170 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 1,830 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 7,107 เกาะ ชายฝั่งทะเลยาว 36,289 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,800 กิโลเมตร
สภาพภูมิประเทศ: ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบต่ำชายฝั่ง
สภาพภูมิอากาศ : อากาศเมืองร้อน มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนพฤศจิกายน-เมษายน และมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (พฤษภาคม-ตุลาคม)
ภัยธรรมชาติ : อยู่ระหว่างแนวเข็มขัดไต้ฝุ่น (Typhoon Belt) ในแต่ละปีจะเผชิญกับพายุไต้ฝุ่น ประมาณ 15 ลูก พายุไซโคลน 5-6 ลูก นอกจากนี้ยังมีดินถล่ม ภูเขาไฟ แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง สึนามิ
จำนวนประชากร : 107,668,231 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2557)
อัตราการเติบโตของประชากร : 1.81% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2557)
สัญชาติ : ฟิลิปปินส์ (Filipino (s))
เชื้อชาติ : ตากาล็อก (Tagalog) 28.1% ซีบูเอโน (Cebuano) 13.1% อิลโลคาโน (Ilcano) 9% Bisaya/ Binisaya 7.6% Hiligaynon Ilonggo 7.5% Bikol 6% Waray 3.4% อื่นๆ 25.3%(สำมะโนประชากร พ.ศ. 2543)
ศาสนา : โรมันคาธอลิก 82.9% มุสลิม 5% Evangelical 2.8%, Iglesia ni Kristo 2.3%, คริสต์นิกายอื่นๆ 4.5%, ศาสนาอื่นๆ 1.8%, ที่ไม่ระบุ 0.6%, ไม่นับถือศาสนา 0.1% (สำมะโนประชากร พ.ศ. 2543)
ภาษา : ฟิลิปิโน (Filipino) และอังกฤษเป็นภาษาราชการ และภาษาถิ่นที่ใช้กันมากอีก 8 ภาษา ได้แก่ Tagalog, Cebuano, Ilocano, Hiligaynon or Ilonggo, Bicol, Waray, Pampango, Pangasinan
ฟิลิปปินส์มีประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจน (below poverty line) ประมาณร้อยละ 24.7 ของจํานวนประชากรทั้งหมด ผู้มีฐานะดีมีจํานวนไม่มากนัก ในขณะที่อัตราประชากรที่รู้หนังสือ อยู่ที่ร้อยละ 95.4
รูปแบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ (Republic)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
การแบ่งเขตการปกครอง : 31 เขต 80 จังหวัดและ 120 เมือง (Chartered Cities)
ภาพแสดงการแบ่งเขตการปกครองระดับเมือง
GDP แยกตามภาคการผลิต
• ภาคการเกษตร 10.7%
• ภาคอุตสาหกรรม 31.5%
• ภาคการบริการ 57.8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2557)
ผลผลิตทางการเกษตร : อ้อย มะพร้าว ข้าว ข้าวโพด กล้วย มันสำปะหลังอัดเม็ด สัปปะรด มะม่วง เนื้อสุกร ไข่ เนื้อวัว ปลา
อุตสาหกรรม : ประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ แปรรูปอาหาร กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ตกปลา
อัตราการเกิบโตภาคอุตสาหกรรม : 7.5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2557)
สกุลเงิน : เปโซ (Philippine Peso) สัญลักษณ์เงิน PHP
ระบบการเงินการธนาคาร : โดยทั่วไปการกํากับดูแลสถาบันการเงินประเภทต่างๆ ของฟิลิปปินส์ดําเนินการผ่าน 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่
1. ธนาคารกลางแห่งฟิลิปปินส์ Bangko Sentral ng Pilipinas (BSP) กํากับสถาบันการเงินการ ธนาคาร
2. สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ Securities and Exchange Commission (SEC) กํากับดูแลด้านตลาดหุ้น
3. สํานักงานคณะกรรมการเกี่ยวกับการประกัน Insurance Commission (EC) กํากับดูแลด้าน การประกันภัยภาคเอกชน ทั้งนี้ ธนาคารกลางแห่ง
ฟิลิปปินส์ (BSP) เป็นผู้กํากับดูแลสถาบันการเงินและกิจการที่เกี่ยวข้อง หลักด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบการเงินการธนาคาร การกําหนดอัตราดอกเบี้ย การแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ
แนวโน้มเศรษฐกิจ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจ/นโยบายเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ระยะสั้น เร่งแก้ไขปัญหาคอขวดในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเพื่อ เร่งการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและ กระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ปรับกฎระเบียบให้มีความสะดวก ยิ่งขึ้นสำหรับด้านการค้าการลงทุน พัฒนาธุรกิจบริการรับจ้างบริหารระบบธุรกิจหรือ Business Process Outsourcing BPO ทั่วประเทศ (ทั้งในเมืองหลักและเมืองรอง) ระยะกลาง ปฏิรูปนโยบายภาษีเพิ่มการแข่งขันในอุตสาหกรรม (ลดการผูกขาด) เพิ่มการลงทุนภายในประเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงาน แก้ไขปัญหาคอรัปชั่น ระยะยาว ลดความยากจนและปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อกระจายความมั่งคั่ง
แนวโน้มเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ - IMF คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะอยู่ที่ร้อยละ 6.3 ในปี 2559 ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ที่สำคัญ ยังคงเป็นการบริโภคภายในประเทศ เนื่องจากเงินโอนที่แรงงาน ฟิลิปปินส์ในต่างประเทศส่งกลับมาให้ครอบครัวเพื่อใช้จ่าย ซึ่งแต่ละปี มีมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีและการเติบโตอย่างรวดเร็วของภาค BPO โดยเฉพาะธุรกิจ call center เป็นหลัก
1.2 มารยาทการติดต่อธุรกิจ
- การใชนามบัตรเปนเรื่องสําคัญ แตไมมีขอปฏิบัติพิเศษใดๆ เกี่ยวกับการมอบนามบัตร ซึ่งตอง
ระมัดระวังเรื่องนี้ในบางประเทศในเอเชีย
- เสื้อแขนยาวผูกไทถือเปนเครื่องแตงกายที่เปนที่ยอมรับสําหรับการประชุมทางธุรกิจโดยเฉพาะเมื่อประชุมกับนักธุรกิจฟลิปปนสเชื้อสายจีน ชุดสูทเหมาะสําหรับการประชุมที่เปนทางการกับระดับผูบริหาร หรืองานเลี้ยงอาหารค่ำ สําหรับเครื่องแตงกายหญิงในการประชุมธุรกิจนั้นใหใชประเภท smart casual (กระโปรงกับเสื้อ หรือกางเกงกับเสื้อ) และประเภท western style business (กระโปรงชุดหรือชุดเสื้อ กางเกงพรอมสูท)
- ภาษาอังกฤษเปนภาษาที่สองในฟลิปปนสและเปนภาษาที่ใชในธุรกิจ ชาวฟลิปปนสสวนใหญอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได
- ในการพบปะชาวฟลิปปนสครั้งแรกใหเรียกนามสกุลของผูนั้น ตอเมื่อคุนเคยกันแลวจึงเรียกชื่อตัว เชน Mr. Antonio Lopez เมื่อพบกันครั้งแรก ตองเรียกชื่อ Mr. Lopez ตอเมื่อสนิทกันแล้วจึงเรียก “Antonio”
- ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและการวิจารณ์โดยตรง เนื่องจากจะเป็นการทําให้อีกฝ่ายเสียหน้า ควรแสดงความเป็นมิตรและสุภาพอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรแสดงอาการโกรธหรือขึ้นเสียงเพราะจะส่งผลต่อการเจรจาใน ครั้งต่อๆ ไป
- การสนทนา ชาวฟิลิปปินส์ให้ความสําคัญกับการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคู่ค้าทางธุรกิจควรทําตัวสุภาพ และถ่อมตนเวลาสนทนากับผู้ที่ติดต่อธุรกิจด้วย
- ไม่ต้องตกใจหากคู่ค้าชาวฟิลิปปินส์เริ่มถามคําถามส่วนตัวต่างๆ เพราะนั่นคือวิธีที่พวกเขาพยายามจะสร้างความสัมพันธ์กับเรา
- การนัดหมายสำหรับมื้อกลางวันหรือมื้อเย็นควรทำด้วยตนเองและควรติดตามผล
- หลีกเลี่ยงการวิจารณ์บุคคล ครอบครัว ประเทศ วัฒนธรรม
- การยักคิ้ว คือวิธีการทักทายของชาวฟิลิปปินส์
- คนฟิลิปปินส์ จะไม่ชี้ไปที่คน สิ่งของ แต่จะใช้การเหลือบตามองไปที่ของชิ้นนั้น หรือทำท่าบุ้ยปาก
- หลีกเลี่ยงการจ้องมองหน้านานๆ เพราะอีกฝ่ายหนึ่งจะเข้าใจว่าคุณกำลังหาเรื่อง แม้ว่าการจ้องหน้าจะเป็นการกระทำที่ไม่สุภาพ แต่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งไม่ค่อยมีชาวต่างชาติไปเยือน คนฟิลิปปินส์ก็อาจมองจ้องคุณ หรือถึงกับมาสัมผัสตัวด้วยก็มี
- ชาวฟิลิปปินส์มักไม่ชอบปฏิเสธ การแสดงออกว่าไม่ อาจตามด้วยคำพูดว่าใช่ ซึ่งคุณควรเข้าใจว่าคือการปฏิเสธนั่นเอง
มารยาทในการรับประทานอาหาร
- ใช้อุปกรณ์การรับประทานอาหารแบบตะวันตกและตามปกติแล้ว อาหารจะเสิร์ฟในคราวเดียว มากกว่ามาทีละชุด
- ชาวฟิลิปปินส์อาจไม่ใส่ใจกับคำเชิญไปร่วมรับประทานอาหารหรือเลี้ยงสังสรรค์มากนัก แม้ว่าจะตอบรับ แต่ใช่ว่าจะจริงจังกับคำตอบรับ ทางที่ดีควรโทรไปเชิญ เตือนความจำอีกครั้ง/
- รอจนกว่าเจ้าภาพจะเชิญให้นั่ง การปฏิเสธคำเชิญชวนให้นั่งรับประทานอาหาร หรือรับเครื่องดื่มในครั้งแรกถือเป็นการแสดงความสุภาพ เมื่อออกปากเชิญครั้งที่ 2 จึงค่อยตอบรับ
- โดยทั่วไป เจ้าภาพจะยกอาหารที่เสริฟมาจานแรกให้แขก จานต่อไปจึงค่อยบริการตนเอง ระหว่างรับประทานอาหารให้วางมือของคุณบนโต๊ะเสมอ
- กล่าวชมเจ้าภาพในเรื่องรสชาติอาหาร การรับประทานอย่างเอร็ดอร่อย ถือเป็นการชมที่จริงใจที่สุด และเหลืออาหารในจานเล็กน้อยเมื่อรับประทานเสร็จ และรวบช้อนส้อมไว้ในจาน
- เมื่อไปร่วมสังสรรค์มื้อค่ำในวันสุดสัปดาห์ ให้ลากลับประมาณเที่ยงคืน ส่วนวันธรรมดาให้ลากลับ 4 ทุ่ม
- การดื่มอวยเป็นธรรมเนียมในฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะการพบปะสังสรรค์ทางธุรกิจ เจ้าภาพแขกอาวุโสเป็นผู้เริ่มกล่าวอวยพรก่อน
- การดื่มอวยพรเป็นภาษาอังกฤษ ถือเป็นความเหมาะสม
1.3 พฤติกรรมผู้บริโภค
อาหารฟิลิปปินส์มีการพัฒนามาหลายศตวรรษตั้งแต่ชนชาติมาเลย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานและได้รับอิทธิพลจากสเปน จีน อเมริกันและเอเชีย โดยอิทธิพลของเอเชียนั้น ได้มีการปรับเข้ากับส่วนผสม อาหารท้องถิ่นด้วย อาหารของฟิลิปปินส์มีตั้งแต่อาหารที่เรียบง่ายอย่างปลาเค็มและข้าว จนถึงอาหารที่มีความซับซ้อนในการปรุง ที่ใช้ในงานเทศกาล อย่าง paella และ cocido อาหารอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมในฟิลิปปินส์ ได้แก่ เลชอน อโดโบ ซินิกัง คาเร-คาเร หมูกรอบ ปานซิต เปาะเปี๊ยะ และฮาโลฮาโล (น้ำแข็งไส)
ทั้งนี้ เมื่อรับประทานอาหาร ชาวฟิลิปปินส์ไม่นิยมรับประทานอาหารกับตะเกียบ แต่ใช้อุปกรณ์อาหารแบบตะวันตก อย่างช้อนและส้อม แต่ข้าวยังคงเป็นอาหารหลักของชาวฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ วิธีการรับประทานแบบดั้งเดิมโดยใช้มือ ก็ยังคงเป็นที่นิยมในเขตชนบทด้วยเช่นเดียวกัน คนฟิลิปปินส์รับประทานอาหารวันละ 5 รอบ คือ เช้า เที่ยง ค่ำ และอาหารว่างระหว่างวันช่วงสายและบ่ายที่เรียกว่า เมอร์เยียนดา อาหารจานหลักของชาวฟิลิปปินส์คือข้าวเช่นเดียวกันกับชาวไทย จานกับข้าวของฟิลิปปินส์มักมีรสอ่อนไม่เผ็ด ร้อนเหมือนกับประเทศอื่นๆ ในเขตเพื่อนบ้าน และเน้นรับประทานอาหารที่ทำจากเนื้อมากกว่าผัก ทั้งเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อปลา โดยชาวฟิลิปปินส์นิยมบริโภคหมูหัน (Litson) หรือและปลานวลจันทร์ทะเล (Bangus) และผักที่ได้รับความนิยมในการบริโภค ได้แก่ แครอท มะเขือเทศ ใบมะรุม ใบมันเทศ ผักบุ้ง
คนฟิลิปปินส์สมัยใหม่นิยมรับประทานอาหารฟาสฟูดส์จานด่วน เช่น ข้าวไก่ทอด สปาเกตตี้ พิซซ่า เบเกอรี่จากกลุ่ม เครือร้านอาหารอเมริกัน เช่น แมคโดนัลด์ เคเอฟซี สตาร์บัค โดยระยะหลังมีการสร้างแบรนด์ร้านอาหารท้องถิ่นซึ่งมีเจ้าของเป็นชาวฟิลิปปินส์ที่มักเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เช่น ร้านฟาสฟูตไก่ทอด Jollibee ร้านอาหารฟิลิปปินส์ Inasal ที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ