เกษตรกรรม
ข้อมูลจาก Central Intelligence Agency ระบุว่า ประมาณร้อยละ 1 ของพื้นที่ดิน (land area) ทั้งหมดในสิงคโปร์ เป็นพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ มีขนาดประมาณ 67 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก (Arable land) และการปลูกพืชยืนต้น (Permanent cropland) ประมาณ 60.3 และ 6.7 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.9 และ 0.1 ของพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ทั้งหมดในสิงคโปร์ ตามลำดับ (รูปที่ 1) ทั้งนี้ แม้จะสิงคโปร์ไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลได้อาศัยวิธีการเช่าที่ดินในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง อาทิ กัมพูชาตอนใต้ และพม่าตอนใต้ สำหรับทำการเพาะปลูกสินค้าเกษตรเพื่อค้าขาย เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เงาะ มังคุด ทุเรียน
โดยประมาณร้อยละ 0.03 ของจำนวนประชากรแรงงานในสิงคโปร์ทั้งหมด ประกอบอาชีพเกษตรกร และสามารถสร้างรายได้จากภาคเกษตรกรรมได้เพียงร้อยละ 0.5 ของ GDP ทั้งประเทศ อย่างไรก็ดี การผลิตสินคาอาหารดังกล่าวยังไมเพียงพอตอปริมาณการบริโภคภายในประเทศ ดังนั้น สิงคโปร์จำเป็นต้องพึ่งพาการนําเขาสินคาเกษตรและอาหารจากประเทศตาง ๆ ทั่วโลก
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กระแสห่วงใยสุขภาพได้กระตุ้นให้ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ตระหนักถึงการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น โดยพวกเขาเริ่มหันมาเลือกซื้อสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันสิงคโปร์มีฟาร์มที่ปลูกผักเกษตรอินทรีย์อยู่เพียงไม่กี่แห่ง โดยมีผู้ผลิตสำคัญ 4 ฟาร์ม คือ ฟาร์ม Green Valley ฟาร์ม Fire Flies Health ฟาร์ม Green Circle และฟาร์ม Quan Fa Organic ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกผักเขตอากาศร้อนชื้น เช่น คะน้า ผักกาดฮ่องเต้ บวบ แตงกวา กระเจี๊ยบเขียว เพื่อส่งไปจำหน่ายตามร้านอาหารเพื่อสุขภาพ หรือร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง (specialty shop) และซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ในเขตเมือง เช่น ห้าง FairPrice Finest ห้าง Cold Storage สำหรับสินค้าอาหารแปรรูปเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตได้เองภายในสิงคโปร์ คือ การทำเต้าหู้สดเกษตรอินทรีย์ โดยจะนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศ ส่วนที่เหลือเป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ทั้งในลักษณะ