สวัสดี

เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหาร

จัดทำข้อมูล ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2562 
เกษตรกรรม
o การใช้ที่ดิน
 
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศหนึ่งที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารเป็นหลัก เนื่องจากขาดแคลนพื้นที่การเกษตร โดยในปี 2559 พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย และใช้ทำกิจกรรมอื่น ซึ่งมีพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้เพียง ร้อยละ 5.5 ของพื้นที่ดินทั้งหมดในประเทศ (land area) หรือประมาณ 3,888 ตารางกิโลเมตร เท่านั้น ในจำนวนนี้แบ่งเป็นที่ดินสำหรับการเพาะปลูกทั่วไป (arable land) การปลูกพืชยืนต้น (permanent crops) และการปลูกหญ้า/เลี้ยงสัตว์ (permanent pasture) 445  393 และ 3,050 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 11.4  10.1 และ 78.4 ของพื้นที่ดินทั้งหมดในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (รูปที่ 1)  ทั้งนี้ พืชเกษตรที่เพาะปลูกในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้แก่ อินทผลัม พืชผัก น้ำมันเรปซีด เนื้อแพะ เนื้อไก่ ไข่ไก่ ปลาทะเล นมและผลิตภัณฑ์
 
o มูลค่าทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน
ในปี 2560 ภาคเกษตรกรรมของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจน้อยมาก 
เพียงร้อยละ 0.9 ของ GDP ทั้งประเทศ หรือประมาณ 3,443.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และก่อให้เกิดการจ้างงาน ร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรวัยแรงงานที่มีงานทำทั้งหมด หรือประมาณ 374,080 คน 
 
o การผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร (ไม่รวมประมง)
ในปี 2560 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีปริมาณการผลิตพืชผลเกษตรรวมประมาณ 737,692 ตัน โดยกว่าร้อยละ 64 ของผลผลิตดังกล่าว เป็นการผลิตอินทผลัม นอกจากนี้เป็นกลุ่มพืชผัก เช่น มะเขือเทศ แตงกวา หอมหัวใหญ่ แครอท มะเขือม่วง และกลุ่มพืชผลไม้ เช่น เมล่อน แตงโม  ในส่วนของการผลิตสินค้าปศุสัตว์ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พบว่า มีปริมาณการผลิต 377,212 ตัน เช่น ไข่ไก่ เนื้อสัตว์ นม

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527