สวัสดี

เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหาร

จัดทำข้อมูล ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2562 
เกษตรกรรม
o การใช้ที่ดิน
ในปี 2559 ตุรกีมีพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม ประมาณ 383,270 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 49.8 ของพื้น ที่ดินทั้งหมดในประเทศ (land area) ในจำนวนนี้แบ่งเป็นที่ดินสำหรับการเพาะปลูกทั่วไป (arable land) การปลูกพืชยืนต้น (permanent crops) และการปลูกหญ้า/เลี้ยงสัตว์ (permanent pasture) ประมาณ 203,810  33,290 และ 146,170 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 26.5  4.3 และ 19 ของพื้นที่ดินทั้งหมดในตุรกี (รูปที่ 1)  ทั้งนี้ พืชเกษตรที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ในตุรกี ได้แก่ ธัญพืชต่าง ๆ มะกอก ชูการ์บีท เฮเซลนัท พืชตระกูลถั่ว พืชตระกูลไซตรัส ปศุสัตว์ 
 
o มูลค่าทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน
ในปี 2560 ภาคเกษตรกรรมของตุรกีสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจร้อยละ 6.8 ของ GDP ทั้งประเทศ หรือประมาณ 57,902 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และก่อให้เกิดการจ้างงาน ร้อยละ 18.4 ของจำนวนประชากรวัยแรงงานที่มีงานทำทั้งหมด หรือประมาณ 5.8 ล้านคน 
 
o การผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร (ไม่รวมประมง)
ข้อมูลจาก FAO ระบุว่า ในปี 2557 ตุรกีมีปริมาณการผลิตพืชผลเกษตรแปรรูปขั้นต้นรวมประมาณ 5.87 ล้านตัน โดยผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่ น้ำตาลทรายดิบ และเบียร์จากข้าวบาร์เล่ย์ มีปริมาณ 2.22 และ 1 ล้านตัน ตามลำดับ หรือมีสัดส่วนรวมกันกว่าร้อยละ 55 ของปริมาณผลผลิตพืชเกษตรที่เพาะปลูกได้ทั้งหมดในตุรกี สำหรับการแปรรูปปศุสัตว์ที่สำคัญ คือ นมวัวพร่องมันเนย มีปริมาณ 4.42 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ เนย และชีส  นอกจากนี้ข้อมูลในปี 2560 ระบุว่า ตุรกีมีการแปรรูปสินค้าปศุสัตว์เบื้องต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตนมสดจากโค แกะ และแพะ มีปริมาณรวมกันกว่า 21 ล้านตัน และการผลิตเนื้อสัตว์ ประมาณ 3.58 ล้านตัน โดยในจำนวนนี้เป็นเนื้อไก่ 2.14 ล้านตัน 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527