TOP
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร
Food Industry
Thailand Food Industry Profile
Overview
Sector Monitor
Thailand Food Industry Update
Monthly Situation
Quarterly Situation
Area-based Industry
Hot issue
Food Directory
Market Intelligence
Market Intelligence
Thailand Food Market Report
Market Report
Market Share
World Food Market Report
Situation Report
Market Report
World food update
Market Trend
Global Food Industry Profile
Law & Regulations
Food Law
NFI Food Safety Early Warning
World Food Law & Reg. News
Food Law and Regulations Corner
Technology
Technology
Innovation corner
NFI R&D Project
Statistics
เกี่ยวกับเรา
บริการ
Knowledge
ถาม-ตอบ
ติดต่อเรา
ค้นหา
LOG IN
สมัครสมาชิก
เกี่ยวกับเรา
บริการ
Knowledge
ถาม-ตอบ
ติดต่อเรา
LOG IN
สมัครสมาชิก
SEARCH
by Date :
to :
--- Categories ---
SEARCH
MEMBER LOG IN
Username
Password
SIGN IN
การดาวน์โหลดไฟล์ PDF ในครั้งแรก ถ้าระบบไม่ลิงค์ไปยังไฟล์ที่กดให้สังเกตุที่แทบบาร์ด้านบน โดยจะต้องกดปลดบล็อค Pop Up ที่ Browser ก่อนค่ะ
สวัสดี
รายละเอียดสมาชิกสถาบันอาหาร
สมัครสมาชิกสถาบันอาหาร
สมัครสมาชิกผู้ใช้งานทั่วไป
แจ้งยืนยันการชำระเงิน
หน้าแรก
Market Intelligence
Global Food Industry Profile
Russia
Detail
อุตสาหกรรมเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์
จัดทำข้อมูล ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2561
สถานการณ์ปัจจุบัน
ตลาดภายในประเทศ
หลังจากสหรัฐอเมริกาประกาศคว่ำบาตรทางธุรกิจกับเมียนมา ในปี 2540 ผู้ผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมสัญชาติอเมริกันรายใหญ่ทั้งสองราย คือ บริษท Coca Cola และบริษัท PepsiCo ได้ยุติการผลิตและจำหน่ายสินค้าในเมียนมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องดื่มภายในประเทศเป็นอย่างมาก กระทั่งต่อมาเมื่อเมียนมาได้เปิดประเทศ ในปี 2555 และสหรัฐอเมริกาได้ผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร ทำให้ทางบริษัท PepsiCo ตัดสินใจกลับมาร่วมธุรกิจกับบริษัท Diamond Star ของเมียนมา เพื่อทำการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มน้ำอัดลม ภายใต้ตรา ‘Pepsi’ ‘Mirinda’ ‘Seven Up’ รวมถึงนักลงทุนต่างชาติหลายรายได้เข้าไปลงทุนในตลาดเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ของเมียนมาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคชาวเมียนมาปรับเปลี่ยนไป และโครงสร้างตลาดเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน กล่าวคือ จากเดิมที่มีแต่เครื่องดื่มรสชาติธรรมดาทั่วไปของผู้ผลิตภายในประเทศ กลายเป็นมีเครื่องดื่มรสชาติแปลกใหม่จากผู้ผลิตต่างชาติเข้ามาในตลาดเมียนมาเพิ่มขึ้น และเกิดความแตกต่างของสินค้า ทั้งด้านราคาและคุณภาพ ทำให้บรรดาผู้ผลิตภายในประเทศต้องเร่งปรับตัวเพื่อรักษากลุ่มผู้บริโภคของตนไว้ เช่น การจัดกิจกรรมจับฉลากชิงรางวัล การจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย รวมถึงการนำเทคโนโลยีทันสมัยมาปรับใช้ในกระบวนการผลิต
ด้วยความหลากหลายของสินค้าที่มากขึ้นในตลาดเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ ทำให้ผู้บริโภคชาวเมียนมามีทางเลือกในการซื้อสินค้าเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น ทั้งสินค้าภายในประเทศและสินค้าตราต่างชาติ ประกอบกับพฤติกรรมการบริโภคของชาวเมียนมาที่มีความซับซ้อนขึ้น จากการดื่มเพื่อแก้กระหายและเพื่อสนองความต้องการของตัวเอง (indulgence) แต่ปัจุบันพวกเขาจะเลือกเครื่องดื่มที่ให้คุณประโยชน์ต่อสุขภาพและร่างกายด้วย ยกตัวอย่างเช่น เครื่องดื่มชูกำลัง หรือเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬา ตรา 100 Plus ที่นอกจากจะช่วยให้สดชื่นขึ้นแล้ว ยังเติมเกลือแร่และแร่ธาตุจำเป็นที่สูญเสียไประหว่างการทำกิจกรรมกลับคืนสู่ร่างกาย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคชาวเมียนมาวัยรุ่นหนุ่มสาว หรือชาและกาแฟสำเร็จรูปที่ผสมโสมสกัดสำหรับบำรุงร่างกาย
download PDF
ย้อนกลับ
สถาบันอาหาร
อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร
2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700
Google map
ติดต่อสอบถาม
Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527