สวัสดี

ธุรกิจค้าปลีกอาหาร

จัดทำข้อมูล ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2561
 
สถานการณ์ปัจจุบัน
 
ในปี 2558 ภาคธุรกิจค้าปลีกของเมียนมามีมูลค่าประมาณ 7.5 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของ GDP ทั้งประเทศ และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของจำนวนสาขาและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ โดยพบว่ามีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เช่น มาเลเซีย ไทย จีน สิงคโปร์ อินเดีย โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าอาหาร เนื่องจากเมียนมายังมีศักยภาพในการผลิตภายในประเทศไม่สูงมากนัก ประกอบกับการขยายตัวของสังคมเมืองและชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา สอดคล้องกับรายงานของ McKinsey Global Institute ที่ระบุว่ากลุ่มชนชั้นกลางชาวเมียนมาจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 19 ล้านคน ในปี 2573 ทำให้เกิดความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะมีการใช้จ่ายสูงถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2573
 
แม้ว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจค้าปลีกในมียนมาจะเป็นการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม และเป็นแหล่งซื้อขายสินค้าอาหารสดยอดนิยมของชาวเมียนมา แต่ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ก็มีการเติบโตที่รวดเร็วเช่นกัน ซึ่งสังเกตได้จากจำนวนสาขาห้างค้าปลีกสมัยใหม่ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 700 แห่ง ในช่วงปี 2558-2559 (ที่มา: Myanmar Retail Association) เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตของชาวเมียนมาที่เปลี่ยนไปทำให้พวกเขาเลือกที่จะไปซื้อสินค้าอาหารที่ร้านค้าสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตบ่อยขึ้นแทนการไปตลาดสดเหมือนเช่นเคย
 
ผู้เล่นสำคัญ
 
ธุรกิจค้าปลีกสินค้าอาหารในเมียนมา โดยเฉพาะกลุ่มห้างค้าปลีกสมัยใหม่ อาทิ ไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าสินค้าอาหารจากประเทศไทยและจีน โดยธุรกิจค้าปลีกในเมียนมาจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
 
1. ไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือซูเปอร์มาร์เก็ต จัดเป็นธุรกิจค้าปลีกแบบสมัยใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในเมียนมา มักตั้งอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ อย่างเมืองมะริด และเมืองย่างกุ้ง ซึ่งจำหน่ายทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค โดยปัจจุบันมีห้างชั้นนำในเมียนมา ได้แก่ Myeik Shopping Centre เมืองมะริด  Taw Win Centre เมืองย่างกุ้ง  Market Place by City Mart เมืองย่างกุ้ง  Capital Hypermarket ของ Capital Diamond Star Group (CDSG) เมืองย่างกุ้ง รวมถึงห้าง Ocean Supercentre ที่มีสาขาตั้งอยู่ทั้งในเมืองย่างกุ้ง เนปยีดอ และมัณฑะเลย์

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527