สวัสดี

Quarterly Situation

การส่งออกอาหารไทยไตรมาสที่ 2/2558 และแนวโน้มปี 2558

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :


       การส่งออกสินค้าอาหารของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 มีมูลค่า 220,190 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าหลักที่มีมูลค่าส่งออกลดลงได้แก่ ข้าว (-6.1%), น้ำตาล (-7.3%), ทูน่ากระป๋อง (-9.7%), และกุ้ง (-16.9%), ส่วนสินค้าหลักที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ไก่ (+10.3%), แป้งมันสำปะหลัง (+36.9%), สับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด (+12.4%) และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส (+0.2%)

          การส่งออกสินค้าอาหารของไทยในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2558 มีมูลค่า 424,900 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าหลักที่มีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว (-5.5%), น้ำตาล (-3.7%), ทูน่ากระป๋อง (-14.0%), และกุ้ง (-12.8%), ส่วนสินค้า ที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ไก่ (+11.4%), แป้งมันสำปะหลัง (+23.4%), สับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด (+8.2%), และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส (+1.3%)

 

การส่งออกอาหารไทยไตรมาสที่ 2/ 2558 และแนวโน้มปี 2558

 

ภาพรวมการส่งออก

          การส่งออกสินค้าอาหารของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 มีมูลค่า 220,190 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าหลักที่มีมูลค่าส่งออกลดลงได้แก่ ข้าว (-6.1%), น้ำตาล (-7.3%), ทูน่ากระป๋อง (-9.7%), และกุ้ง (-16.9%), ส่วนสินค้าหลักที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ไก่ (+10.3%), แป้งมันสำปะหลัง (+36.9%), สับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด (+12.4%) และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส (+0.2%)

          การส่งออกสินค้าอาหารของไทยในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2558 มีมูลค่า 424,900 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าหลักที่มีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว (-5.5%), น้ำตาล (-3.7%), ทูน่ากระป๋อง (-14.0%), และกุ้ง (-12.8%), ส่วนสินค้า ที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ไก่ (+11.4%), แป้งมันสำปะหลัง (+23.4%), สับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด (+8.2%), และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส (+1.3%)

          ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรก ได้แก่

แนวโน้มการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง

          การส่งออกสินค้าอาหารในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าจะมีมูลค่า 475,100 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว ผู้บริโภคจึงระมัดระวังการใช้จ่ายอ่อนค่าของเงินสกุลประเทศคู่ค้าต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เช่น ยูโร เยนญี่ปุ่น รวมทั้งเงินหยวนของจีน เป็นต้น ราคาสินค้าเกษตรอาหารยังอยู่ในระดับต่ำฉุดรายได้จากการส่งออกลดลง ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งยังไม่คลี่คลาย แม้เข้าสู่ฤดูฝนแต่ปริมาณน้ำฝนยังน้อยมากโดยเฉพาะในเขตทุ่งราบเจ้าพระยา ทำให้น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีปริมาณน้อย ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรในช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่อง

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527