ตุลาคม 2558
การส่งออกสินค้าอาหารไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2557 มีมูลค่า 252,643 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 เป็นอัตราขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปี ครึ่ง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากปริมาณวัตถุดิบสินค้าเกษตรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตปศุสัตว์ ไม้ผล และพืชอาหารเป็นหลัก ยกเว้นวัตถุดิบกลุ่มประมงโดยเฉพาะกุ้ง ที่ผลผลิตลดลงต่อเนื่อง เพราะเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งยังกังวลเรื่อง รคตายด่วน ในขณะที่ปัจจัย ด้านการส่งออกยังได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น เงินบาทที่อยู่ในระดับเหมาะสมราว 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับภาพรวมส่งออกอาหารไทย ในช่วงครึ่งปีแรกมีมูลค่า 488,185 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1
อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 2 และแนวโน้มครึ่งหลังของปี 2557
Executive Summary
การส่งออกสินค้าอาหารไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2557 มีมูลค่า 252,643 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 เป็นอัตราขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปี ครึ่ง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากปริมาณวัตถุดิบสินค้าเกษตรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตปศุสัตว์ ไม้ผล และพืชอาหารเป็นหลัก ยกเว้นวัตถุดิบกลุ่มประมงโดยเฉพาะกุ้งที่ผลผลิตลดลงต่อเนื่อง เพราะเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งยังกังวลเรื่องโรคตายด่วน ในขณะที่ปัจจัยด้านการส่งออกยังได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น เงินบาทที่อยู่ในระดับเหมาะสมราว 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับภาพรวมส่งออกอาหารไทยในช่วงครึ่งปีแรกมีมูลค่า 488,185 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1
แนวโน้มการส่งออกอาหารไทยในครึ่งปีหลัง คาดว่าจะมีมูลค่า 481,815 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องเพราะเข้าสู่ช่วงฤดูการส่งมอบสินค้าให้กับผู้นำเข้าเพื่อจำหน่ายในช่วงฤดูหนาวและเทศกาลปลายปี สินค้าส่งออกหลักในกลุ่มอาหารที่คาดว่าปริมาณส่งออกขยายตัวสูง ในช่วงครึ่งปีหลัง อาทิ ข้าว ข้าวโพดหวานปรุงแต่ง ปลาทูน่ากระป๋อง ไก่ และน้ำตาลทราย ส่วนสินค้าส่งออกที่น่าจะยังคงหดตัวต่อเนื่อง คือ กุ้ง เพราะสถานการณ์วัตถุดิบ ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว ขณะที่ปริมาณส่งออกมันสำปะหลังมีแนวโน้มหดตัวในครึ่งปีหลังเช่นกัน เพราะจะเข้าสู่ช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ผลผลิตรวมทั้งภาครัฐชะลอการระบายสต็อกมันสำปะหลัง
ภาพรวมการส่งออกอาหารไทยตลอดปี 2557 คาดว่ามีมูลค่า 970,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 อย่างไรก็ตาม มูลค่าส่งออกอาจขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะในครึ่งปีหลังมีปัจจัยเกื้อหนุน การส่งออกหลายด้าน อาทิ ค่าเงินบาทที่อาจกลับมาอ่อนค่าหลังจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัว อานิสงส์จากการที่สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และรัสเซียมีมาตรการคว่ำบาตรการค้าระหว่างกัน สำหรับสินค้าที่คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวสูงในปี 2557 ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าวโพดหวานปรุงแต่ง เครื่องปรุงรส ปลาทูน่ากระป๋อง และไก่ ส่วนสินค้าที่คาดว่าน่าจะมีปริมาณส่งออกลดลง ได้แก่น้ำมันปาล์ม กุ้ง และน้ำตาลทราย
อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 2 และแนวโน้มครึ่งหลังของปี 2557
1. วัตถุดิบ
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและวัตถุดิบของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตปศุสัตว์ ไม้ผล และพืชอาหารเป็นหลัก โดยกลุ่มสินค้าปศุสัตว์มีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตไก่เนื้อและสุกรออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่วนกลุ่มธัญพืช/พืชอาหาร ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ตามผลผลิตข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในขณะที่ดัชนีผลผลิตไม้ผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากการเพิ่มขึ้นผลผลิตลำไย ลิ้นจี่ และทุเรียน ส่วนกลุ่มประมงโดยเฉพาะผผลิตกุ้งยังคงลดลงต่อเนื่องแต่ทิศทางผลผลิตปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับจุดต่ำสุดในปี 2556 ภาพรวม 6 เดือนแรกปี 2557 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและวัตถุดิบขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ผลผลิตการเกษตรส่วนใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นการผลิตกุ้งที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เพราะเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งยังไม่มั่นใจเรื่องโรคตายด่วน จึงลงทุนเพาะเลี้ยงกุ้งได้ไม่เต็มที่
ราคาสินค้าเกษตรอาหารในตลาดโลกในไตรมาสที่ 2/2557 ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมราคาอาหารโลกในครึ่งปีแรกหดตัวลงร้อยละ 1.9 เนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรออกสู่ตลาดมาก ภัยธรรมชาติทำความเสียหายต่อผลผลิตค่อนข้างน้อย โดยสินค้าที่ราคาอ่อนตัวลงมาก ได้แก่ กลุ่มธัญพืช พืชน้ำมัน และน้ำตาล ส่วนกลุ่มเนื้อสัตว์ สัตว์น้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์นม
download PDF ย้อนกลับ