ตุลาคม 2558
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาลและเครื่องดื่ม) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2556 หดตัวลงร้อยละ 18.8 หดตัวรุนแรงในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่ เริ่มกลับมาขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ มีเพียงอุตสาหกรรม แปรรูปสัตว์น้ำ (โดยเฉพาะกุ้ง) การแปรรูปเนื้อสัตว์ และการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป เท่านั้นที่ยังคงหดตัว
อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2556
การผลิต
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาลและเครื่องดื่ม) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2556 หดตัวลงร้อยละ 18.8 หดตัวรุนแรงในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่ เริ่มกลับมาขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ มีเพียงอุตสาหกรรม แปรรูปสัตว์น้ำ (โดยเฉพาะกุ้ง) การแปรรูปเนื้อสัตว์ และการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป เท่านั้นที่ยังคงหดตัว
สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งที่เผชิญปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะที่เรียกว่ากลุ่มอาการตายด่วน (Early Mortailty Syndrome : EMS) ยังคงเป็นปัจจัยกดดันกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นผลิตเพื่อการส่งออกให้หดตัวลงมากถึงร้อยละ 28.2 ส่วนอุตสาหกรรในหมวดสินค้าส่งออกอื่น ๆ ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง และผักผลไม้แปรรูป พลิกกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และ 6.7 ในไตรมาสนี้ ตามลำดับ โดยประเทศคู่ค้า ในกลุ่มสินค้าสับปะรดกระป๋องเริ่มกลับมานำเข้าสินค้าอีกครั้ง หลังจากสต็อกสินค้าเริ่มร่อยหรอ รวมทั้งได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าต่ำลง ตามราคาวัตถุดิบในช่วงก่อนหน้า
ในขณะที่อุตสาหกรรมการแปรรูปเนื้อสัตว์ที่หดตัวลงจากปัญหาการเงินของผู้ผลิตรายใหญ่ที่ส่งผลลบต่ออุปทานเนื้อสัตว์ในประเทศ รวมทั้งอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูปที่หดตัวลงตามอุตสาหกรรมต้นน้ำ ส่งผลทำให้อุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศหดตัวลงร้อยละ 8.9 อย่างไรก็ตามกลุ่มสินค้าที่เน้นตลาดในประเทศส่วนใหญ่เริ่มกลับมาขยายการผลิตเพิ่มขึ้น อาทิ กลุ่มผลิตภัณฑ์นม ขนมอบ น้ำมันพืช และเครื่องปรุงรส
ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาลและเครื่องดื่ม) ในช่วง 9 เดือนแรกหดตัวลงร้อยละ 13.6 โดยอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกหดตัวลงร้อยละ 22.5 ลดลงตามการหดตัวของอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งเป็นหลัก และอุตสาหกรรมกุ้งยังเป็นอุตสาหกรรมในกลุ่มธุรกิจส่งออกที่ฉุดภาพรวมการผลิตให้ลดต่ำลงด้วย ส่วนอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศหดตัวลงร้อยละ 4.3 ตามการลดลงของอุตสาหกรรมการแปรรูปเนื้อสัตว์ และการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูปเป็นหลัก
การส่งออก
การส่งออกอาหารไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2556 มีมูลค่า 231,200 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.5 เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งเป็นสำคัญ ส่วนสินค้าอื่น ๆ ที่การส่งออกหดตัวลงมากในไตรมาสนี้ ได้แก่ น้ำตาลทราย ทูน่าแปรรูป ไก่ และปลาแช่แข็ง โดยมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบแตกต่างกันในแต่ละสินค้า ดังนี้