สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 2/2555 และแนวโน้ม

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

   

       ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงจากผลพวงวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลยูโร (Euro zone) อุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมายังไม่ได้รับผลกระทบมากนักแต่คาดว่าผู้ประกอบการอาจได้รับผลกระทบชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผลกระทบจะไม่รุนแรงเนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับผลกระทบจากวัฎจักรธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ แต่ปัจจัยดังกล่าวก้เป็นตัวบั่นทอนการเติบโตของอุตสาหกรรมให้ต่ำกว่าศักยภาพ  (Potential output)  

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 2/2555 และแนวโน้ม

มิถุนายน 2555

          ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงจากผลพวงวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลยูโร (Euro zone) อุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมายังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่คาดว่าผู้ประกอบการอาจได้รับผลกระทบชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผลกระทบจะไม่รุนแรงเนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับผลกระทบจากวัฎจักรธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ แต่ปัจจัยดังกล่าวก้เป็นตัวบั่นทอนการเติบโตของอุตสาหกรรมให้ต่ำกว่าศักยภาพ  (Potential output) 

1. ภาคการผลิต

               ในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยหดตัวลงร้อยละ 0.6 หดตัวลงต่อเนื่องหลังจากที่หดตัวลงร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยภาคการผลิตมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องตามวัฏจักรเศรษฐกิจขาลง (Recession) แต่ผลกระทบจากวิกฤตยูโรโซนต่อภาคการผลิตในรายสาขายังไม่ปรากฎเด่นชัดนัก เพราะยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร 5 จาก 10 สาขาที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ เครื่องปรุงรส ขนมอบกรอบ แป้งมันสำปะหลัง และอาหารสัตว์ ส่วนสาขาการผลิตที่เหลือส่วนใหญ่หดตัวลงเนื่องจากประสบปัญหาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจรวมทั้งปัญหาด้านอื่น ๆ ประกอบกัน พอสรุปได้ดังนี้

               1. วัตถุดิบภาคเกษตรมีปริมาณลดลง ราคาปรับตัวสูงขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาดังกล่าว ได้แก่ กลุ่มน้ำมันพืช (ปาล์มน้ำมัน) น้ำตาล และกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำ (ทูน่า)

                2. อุตสาหกรรมที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่จากเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมนม โดยกำลังการผลิตอุตสาหกรรมนมค่อย ๆ ฟื้นตัวตามลำดับ และกำลังการผลิตกลับมาอยู่ในระดับปกติแล้วในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

                3. การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้ความต้องการสินค้าชะลอตัวลง และส่งผลเชื่อมโยงมายังภาคการผลิต กลุ่มอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาดังกล่าว ได้แก่ กลุ่มผักผลไม้แปรรูป (สับปะรด) และกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำ (กุ้งและทูน่า)

               ภาพรวมในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยหดตัวลงร้อยละ 1.1 อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ ได้แก่ อาหารสัตว์สำเร็จรูป (+20.2%), เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ (+16.9%), เครื่องปรุงรส (+11.6%), น้ำมันพืช (+7.1%) และขนมอบกรอบ (+0.8%)  ซึ่งภายใต้อุตสาหกรรมดังกล่าว พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่ผลิตเพื่อใช้สำหรับการบริโภคส่วนใหญ่ได้รับปัจจัยบวกจากรายได้เกษตรกรที่เพิ่มสูงขึ้ยจากราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ดี ในช่วงก่อนหน้า รวมทั้งการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้กับผู้ใช้แรงงาน ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารสัตว์สำเร็จรูปโดยเฉพาะอาหารไก่ ขยายตัวสูงขึ้นมาก เพื่อรองรับการขยายกำลังการผลิตของผู้ผลิตไก่รายใหญ่หลายรายตั้งแต่ต้นปี

          ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกมีเพียงแป้งมันสำปะหลังเท่านั้น ที่การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการกลับเข้ามาซื้อของกลุ่มผู้นำเข้ารายใหญ่จากอินโดนีเซีย ส่วนกลุ่มผักผลไม้แปรรูป (สับปะรด) และกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำ (กุ้งและทูน่า) ยังคงประสบภาวะการผลิตชะลอตัวตามการส่งออกโดยกล่มแปรรูปผลไม้ (สับปะรดกระป๋อง) ประสบปัญหาจากการที่ผู้ซื้อต่างประเทศชะลอการนำเข้าเพราะยังมีสินค้าค้างสต็อกจากปีก่อน รวมทั้งไม่สามารถตกลงราคากันได้ภายหลังจากที่วัตถุดิบสับปะรดอ่อนตัวลง ขณะที่กลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำประสบปัญหาทั้งด้านวัตถุดิบทั้งความต้องการตลาดโลกชะลอตัว โดยอุตสาหกรรมทูน่าแปรรูปได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบทูน่าที่จับได้มีปริมาณลดลงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ รวมทั้งข้อกำหนดที่เข้มงวดในการจับปลาของหลาย ๆ ประเทศส่งผลทำให้ราคาทูน่าปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 2,200 ดอลลาร์สหรัฐ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527