ตุลาคม 2558
ปี 2554 นับเป็นหนึ่งในปีทองของอุตสาหกรรมอาหารไทย ภาคการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากวัตถุดิบออกสู่ตลาดมากขึ้น สามารถรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารได้ต่อเนื่อง ขณะที่มูลค่าส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 964,501 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 โดยไทยได้รับอานิสงค์จากความแปรปรวนของสภาพอากาศโลกทำให้หลาย ๆ ประเทศผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภค จึงเปิดโอกาสให้สินค้าอาหารของไทยขยายตัวได้ดี สหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารปี 2555 หากปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจเอื้ออำนวยต่อการแข่งขัน
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยปี 2554
แนวโน้มครึ่งปีแรก และภาพรวมปี 2555
จีระศักดิ์ คำสุรีย์
มีนาคม 2555
ปี 2554 นับเป็นหนึ่งในปีทองของอุตสาหกรรมอาหารไทย ภาคการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากวัตถุดิบออกสู่ตลาดมากขึ้น สามารถรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารได้ต่อเนื่อง ขณะที่มูลค่าส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 964,501 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 โดยไทยได้รับอานิสงค์จากความแปรปรวนของสภาพอากาศโลกทำให้หลาย ๆ ประเทศผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภค จึงเปิดโอกาสให้สินค้าอาหารของไทยขยายตัวได้ดี สหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารปี 2555 หากปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจเอื้ออำนวยต่อการแข่งขัน
1. สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย ปี 2554
1.1 การผลิต
ในปี 2554 การผลิตอุตสาหกรรมอาหารเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี วัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากปริมาณวัตถุดิบออกสู่ตลาดมากขึ้น เนื่องจากในช่วงต้นฤดูกาลผลิตสภาพอากาศเอื้ออำนวยเพราะฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้นไม่นาน ประกอบกับสินค้าเกษตรมีราคาดีต่อเนื่อง เป็นแรงผลักดันให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งบำรุงรักษาผลผลิตให้มีคุณภาพ พืชเศรษฐกิจหลายชนิดจึงมีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น อาทิ ข้าว ปาล์มน้ำมัน อ้อย และสับปะรด สามารถ รองรับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้วัตถุดิบดังกล่าวได้ต่อเนื่อง เป็นแรงผลักดันให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งบำรุงรักษาผลผลิตให้มีคุณภาพ พืชเศรษฐกิจหลายชนิดจึงมีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น อาทิ ข้าว ปาล์มน้ำมัน อ้อย และสับปะรด สามารถรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้วัตถุดิบดังกล่าวได้ต่อเนื่อง
กลุ่มอุตสาหกรรมที่ขยายตัวดีในปี 2554 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก (สัดส่วนส่งออกต่อผลผลิต > 60%) ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปผักผลไม้ น้ำตาล และแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งมีอัตราขยายตัวของดัชนีผลผลิตที่ร้อยละ 27.6, 22.9 และ 15.5 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยหนุนจากวัตถุดิบในอุตสาหกรรมดังกล่าวมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นมาก รวมทั้งตลาดต่างประเทศก็มีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำหดตัวลงเล็กน้อยตามปัจจัยแวดล้อมในแต่ละธุรกิจ โดยการผลิตกุ้งลดลงร้อยละ 2.8 เนื่องจากความต้องการบริโภคกุ้งขนาดเล็กในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น น้ำหนักกุ้งที่ผลิตและส่งจำหน่ายจึงลดลง ขณะที่ผลผลิตทูน่าแปรรูปลดลงร้อยละ 4.0 เนื่องจากราคาวัตถุดิบทูน่าเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการสินค้าในเชิงปริมาณที่ส่งผ่านมาทางยอดการผลิตจึงลดลง ยกเว้นการผลิตปลาซาร์ดีนกระป๋องที่ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 42.7 เพื่อรองรับความต้องการของตลาดภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงที่เกิดภาวะน้ำท่วม
สำหรับอุตสาหกรรมที่เน้ตลาดในประเทศ (สัดส่วนส่งออกต่อผลผลิต < 30%) ส่วนใหญ่มีผลผลิตลดลงเล็กน้อย โดยผู้ประกอบการบางส่วนได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมหนักในช่วงปลายปีอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากภาวะน้ำท่วม คือ อุตสาหกรรมนม ที่ผลผลิตลดลงร้อยละ 42.6 ในไตรมาสที่ 4 แต่ภาพรวมตลอดทั้งปีหดตัวลงเพียงร้อยละ 1.4 เนื่องจากผลผลิตสะสมในช่วง 3 ไตรมาสแรก ขยายตัวในระดับสูง ขณะที่อุตสาหกรรมขนมอบกรอบ อุตสาหกรรมเครื่องปรุงรส ได้รับผลกระทบรองลงมา ซึ่งผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากผลกระทบทางอ้อม อันเนื่องมาจากภาวะน้ำท่วมจึงไม่เอื้ออำนวยต่อการบริโภครวมทั้งผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงอาหารในกลุ่มดังกล่าวได้ ความต้องการสินค้าในกลุ่มนี้จึงชะลอตัวลง ประกอบกับการขนส่งและช่องทางการจัดจำหน่าถูกตัดขาด ผู้ผลิตจึงไม่สามารถกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะตลาดหลักในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
download PDF ย้อนกลับ