ตุลาคม 2558
อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งภาคการผลิต และส่งออกตลาด โดยรวมยังคงมีความต้องการสินค้า เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณวัตถุดิบหลายรายการลดลง และมีราคาสูงขึ้นมาก เป็นข้อจำกัดในการขยายกำลังการผลิตเพื่อให้สอดรับความต้องการของตลาด
แนวโน้มการส่งออกอาหารไทยในไตรมาสที่ 3 จะยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าวและน้ำตาล ที่จะขยายตัวโดดเด่น ส่วนอาหารอื่น ๆ แม้จะมีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ราคายังอยู่ในเกณฑ์ดี ในปีนี้น่าจะเป็นปี ทองของอุตสาหกรรมอาหารหลายรายการ หากรักษาระดับการส่งออก ไว้ได้ภาพรวมการส่งออกอาหารไทยตลอดทั้งปีน่าจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2554
แนวโน้มไตรมาสที่ 3 และภาพรวมปี 2554
มิถุนายน 2554
อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งภาคการผลิตและส่งออกตลาด โดยรวมยังคงมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณวัตถุดิบหลายรายการลดลงและมีราคาสูงขึ้นมาก เป็นข้อจำกัดในการขยายกำลังการผลิตเพื่อให้สอดรับความต้องการของตลาด
แนวโน้มการส่งออกอาหารไทยในไตรมาสที่ 3 จะยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าวและน้ำตาลที่จะขยายตัวโดดเด่น ส่วนอาหารอื่น ๆ แม้จะมีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ราคายังอยู่ในเกณฑ์ดี ในปีนี้น่าจะเป็นปีทองของอุตสาหกรรมอาหารหลายรายการ หากรักษาระดับการส่งออกไว้ได้ภาพรวมการส่งออกอาหารไทยตลอดทั้งปีน่าจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
1. การผลิต
ภาวะการผบิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยในช่วง 2 เดือนแรก (เมษายน-พฤษภาคม) ของไตรมาสที่ 2 ปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ชะลอตัวจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 ในไตรมาสแรกภาพรวมตลอด 5 เดือนแรก ดัชนีผลผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 กลุ่มอุตสาหกรรมที่การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 5 เดือนแรก ได้แก่ ส่วนการผลิตที่หดตัวลง ได้แก่ การแปรรูปสัตว์น้ำ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ แป้งมันสำปะหลัง ส่วนการผลิตที่หดตัวลง ได้แก่ การแปรรูปสัตว์น้ำ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ แป้งมันสำปะหลัง และเครื่องปรุงรส
อุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตลดลงในช่วงไตรมาสที่ 2 ส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ โดยอุตสาหกรรมการแปรรูปเนื้อสัตว์หดตัวลงร้อยละ 9.4 จากการลดลงของการผลิตเนื้อไก่เป็นสำคัญ ซึ่งในช่วงนี้ไก่มีชีวิตออกสู่ตลาดน้อยเพราะเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ประสบปัญหาไก่โตช้าและไม่ได้ขนาด รวมทั้งต้นทุนการเลี้ยงปรับตัวเพิ่มขึ้น ผลักดันให้ราคาเนื้อหน้าฟาร์มขยับขึ้นประมาณร้อยละ 20 แต่ราคาปลายทางผู้บริโภคบางช่วงเวลาเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 40-50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับอุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำหดตัวลงร้อยละ 2.7 เป็นการลดลงเกือบทุกหมวดทั้ง กุ้ง ทูน่า ปลากระป๋อง ปลาหมึก ยกเว้น ปลาแช่แข็ง ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งสาเหตุหลักมาจากปัญหาปริมาณวัตถุดิบมีน้อยไม่เพียงพอต่อการแปรรูป โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งประสบภาวะอากาศแปรปรวนและเกิดโรคระบาด ขณะที่อุตสาหกรรมทูน่าประสบภาวะวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้นตามราคาพลังงานรวมทั้งปริมาณทูน่าที่จับได้น้อยลง ส่งผลทำให้ราคาวัตถุดิบทูน่าปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่วนสถานการณ์การผลิตสัตว์น้ำประเภทอื่น ๆ ประสบภาวะวัตถุดิบขาดแคลนเป็นส่วนใหญ่
2. การส่งออก
การส่งออกอาหารไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2554 (เฉพาะเดือนเมษายน-พฤษภาคม) มีมูลค่า 164,215 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 เร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 ในไตรมาสแรก สินค้าส่งออกที่ขยายตัวโดดเด่นในช่วง 2 เดือนนี้ ได้แก่ ข้าว น้ำตาลทราย ผลไม้แปรรูป ไก่แปรรูป ผักสดและแปรูป
download PDF ย้อนกลับ