สวัสดี

Quarterly Situation

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาส 4 ปี 2553 แนวโน้มไตรมาส 1 และภาพรวมปี 2554

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

       ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาส 4 ปี 2553 ชะลอตัวทั้งภาคการผลิตและส่งออกจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ รวมทั้งการแข็งค่าของเงินบาท แต่อุตสาหกรรมอาหารของไทยปี 2553 โดยภาพรวมยังขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งภาคการผลิตและส่งออก เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก

          แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารในไตรมาสแรกปี 2554 คาดว่าจะชะลอตัวลงเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะการแข็งค่าของเงินบาท การขาดแคลนวัตถุดิบ รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรและราคาพลังงาน อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในครึ่งปีหลัง

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาส 4 ปี 2553

แนวโน้มไตรมาส 1 และภาพรวมปี 2554

22 ธันวาคม 2553

          ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาส 4 ปี 2553 ชะลอตัวทั้งภาคการผลิตและส่งออกจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ รวมทั้งการแข็งค่าของเงินบาท แต่อุตสาหกรรมอาหารของไทยปี 2553 โดยภาพรวมยังขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งภาคการผลิตและส่งออก เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก

          แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารในไตรมาสแรกปี 2554 คาดว่าจะชะลอตัวลงเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะการแข็งค่าของเงินบาท การขาดแคลนวัตถุดิบ รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรและราคาพลังงาน อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในครึ่งปีหลัง

1. ภาวะอุตสาหกรรมอาหารของไทยในไตรมาส 4 ปี 2553

          ภาวะอุตสาหกรรมอาหารของไทยในไตรมาส 4 ปี 2553 ชะลอตัวลงมากที่สุดในรอบปีโดยการผลิตในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส (เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ขณะที่การส่งออกหดตัวลงร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า เนืองจากหลายอุตสาหกรรมเกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ รวมทั้งแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทสำหรับภาพรวม 11 เดือนแรกการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 โดยกลุ่มสินค้าที่มีตลาดหลักอยู่ภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกต่อผลผลิตน้อยกว่า 30%) ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม ได้แก่ ขนมอบกรอบ เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม อาหารสัตว์ เครื่องปรุงรส เนื้อสัตว์ และน้ำมันพืช ตามภาวะเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกในสัดส่วนที่สูงขึ้น (สัดส่วนส่งออกต่อผลผลิตมากกว่า 60%) ยังคงมีความต้องการเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบทำให้ ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการได้ อาทิ แป้งมันสำปะหลัง น้ำตาลทราย และผักผลไม้แปรรูป ขณะที่การแปรรูปสัตว์น้ำเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ผลิตเพื่อการส่งออก เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ที่การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากในปีนี้ผลผลิตสัตว์น้ำสำคัญ คือ กุ้ง ในตลาดโลกมีปริมาณลดลงจากปัญหาภัยธรรมชาติและโรคระบาด ทำให้ต่างประเทศมีความต้องการกุ้งจากไทยมากขึ้น

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527