ตุลาคม 2558
แม้ภาคการผลิตและการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบอาหารในเดือนกรกฎาคม 2553 จะขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มูลค่าส่งออกเดือนกรกฎาคม 2553 ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว ประกอบกับในช่วงนี้อุตสาหกรรมอาหารของไทยต้องเผชิญกับการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของเงินบาท ซึ่งแข็งค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 13 ปี ดังนั้น คาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ให้เกิดการชะลอตัวลง รวมทั้งส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกอาหารไทยตลอดปี 2553 มีมูลค่าลดลงต่ำกว่า 830,000 ล้านบาท ที่คาดการณ์ไว้ในช่วงก่อนหน้า
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วง 7 เดือนแรก
แนวโน้มไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2553
16 กันยายน 2553
แม้ภาคการผลิตและการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบอาหารในเดือนกรกฎาคม 2553 จะขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มูลค่าส่งออกเดือนกรกฎาคม 2553 ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว ประกอบกับในช่วงนี้อุตสาหกรรมอาหารของไทยต้องเผชิญกับการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของเงินบาท ซึ่งแข็งค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 13 ปี ดังนั้น คาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ให้เกิดการชะลอตัวลง รวมทั้งส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกอาหารไทยตลอดปี 2553 มีมูลค่าลดลงต่ำกว่า 830,000 ล้านบาท ที่คาดการณ์ไว้ในช่วงก่อนหน้า
1.การผลิต
ในเดือนกรกฎาคม 2553 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 (yoy) ซึ่งเป็นผลผลิตในระดับใกล้เคียงกับปี 2550-2551 และแนวโน้มการผลิต
ปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันกับปีดังกล่าวสำหรับภาพรวมในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2553 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 (yoy) อุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ส่วนอุตสาหกรรมอาหาร ที่ผลผลิตลดลงมีสาเหตุจากปัญหาด้านวัตถุดิบเป็นสำคัญ
ในเดือนกรกฎาคมมีอุตสาหกรรมอาหารที่ดัชนีผลผลิตหดตัวลงเนื่องจากปัญหาด้านวัตถุดิบ อาทิ เช่น การผลิตกุ้งแช่แข็งลดลงร้อยละ 4.7 เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมากุ้งมีราคาดีจึงจูงใจให้เกษตรกรลงกุ้งมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้กุ้งโตช้าและผลผลิตไม่ได้ขนาด ส่งผลทำให้โรงงานขาดแคลนกุ้งในการแปรรูป ผลผลิตทูน่ากระป๋องลดลงร้อยละ 4.3 เนื่องจากความต้องการทูน่ากระป๋องในตลาดต่างประเทศค่อนข้างตึงตัวจากปัญหาวัตถุดิบมีราคาสูง
โดยในครึ่งปีหลังราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยสูงถึง 1,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน จากราคาเฉลี่ย 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในช่วงต้นปีการผลิตปลาหมึกแช่แข็งลดลงร้อยละ 10.0 เนื่องจากปลาทั้งที่จับได้ในประเทศและนำเข้ามีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อการแปรรูป การผลิตแป้งมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 44.6 เนื่องจากวัตถุดิบขาดแคลนจากปัญหาภัยแล้งและเพลี้ยแป้งระบาดในช่วงต้นปี
สำหรับอุตสาหกรรมที่การผลิตเพิ่มสูงขึ้น เช่น การผลิตเนื้อไก่แช่แข็งที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะเนื้อไก่ยังคงเป็นโปรตีนที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับโปรตีนจากเนื้อหมูและเนื้อวัว ประกอบกับตลาดส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวดีกว่าที่คาด โดยเฉพาะตลาดหลักในยุโรปและญี่ปุ่น
ผลผลิตน้ำตาลทรายขาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.2 เนื่องจากโรงงานมีการแปรสภาพน้ำตาลทรายออกสู่ตลาดเพื่อรองรับความต้องการน้ำตาลทรายภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะความต้องการในอุตสาหกรรมอาหารอื่น ๆ ที่ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น เช่น ผักผลไม้แปรรูป (+20.9%), น้ำมันพืช (+7.8%), อาหารสัตว์สำเร็จรูป (+11.0%), ขนมอบกรอบ (+18.4%), และการผลิตเบียร์ (+9.9%)
2. การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอาหารในเดือนกรกฎาคม 2553 มีปริมาณ 1.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 มูลค่า 24,585 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย 12.6 (yoy) สินค้าหลักซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ถั่วเหลือง ข้าวสาลี มอลต์ ผลิตภัณฑ์นม และปลาทะเลแช่แข็ง มีปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้น ส่วนสินค้าอาหารที่นำเข้ามาปริโภคโดยตรง เช่น ผักผลไม้สด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การนำเข้าก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
download PDF ย้อนกลับ