สวัสดี

Quarterly Situation

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วง 4 เดือนแรก แนวโน้มครึ่งปีหลัง และภาพรวมปี 2553

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :


     ภาวะอุตสาหกรรมอาหารของไทยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 268,440 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่ฟื้นตัวขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ในเดือนเมษายน 2553 การผลิตอุตสาหกรรมอาหารหดตัวลดลงร้อยละ 0.5 เนื่องจากเดือนเมษายนปีนี้มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ผู้ประกอบการจึงวางแผนผลิตสินค้าเพื่อสต็อกไว้แล้วในเดือนก่อนหน้า ประกอบกับเริ่มมีการขาดแคลนวัตถุดิบในหลายอุตสาหกรรม ส่งผลทำให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วง 4 เดือนแรก

แนวโน้มครึ่งปีหลัง และภาพรวมปี 2553

30 มิถุนายน 2553

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

 

 

 

ภาพรวมการผลิตอุตสาหกรรมอาหารเดือนเมษายนหดตัวลงเล็กน้อยจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบรวมทั้งผู้ผลิตบางส่วนสต็อกสินค้าไว้ก่อนหน้า

1. การผลิต

          ในเดือนเมษายน 2553 การผลิตอุตสาหกรรมอาหารหดตัวลงร้อยละ 0.5 หลังจากขยายตัวสูง ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากเดือนเมษายนปีนี้ มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ผู้ประกอบการจึงวางแผนผลิตสินค้าเพื่อสต็อกไว้แล้วในเดือนก่อนหน้า ประกอบกับเริ่มมีการขาดแคลนวัตถุดิบในหลายอุตสาหกรรม ส่งผลทำให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมปรับตัวลดลงเล็กน้อย

การผลิตแป้งมันสำปะหลังผลิตภัณฑ์นม และน้ำตาล เป็น 3 อุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตลดลงในเดือน เมษายน

          อุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตหดตัวลง ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์นม และน้ำตาล โดยการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ลดลงเนื่องจากหัวมันสดเริ่มขาดแคลน จากปัญหาเพลี้ยแป้งระบาด การผลิตผลิตภัณฑ์นม ลดลง เพราะเป็นช่วงปิดภาคเรียน ทำให้ผู้ผลิตสต็อกสินค้าไว้ล่วงหน้าแล้วในช่วงต้นปี ประกอบกับราคานมผงนำเข้า ขยับตัวสูงขึ้น และปริมาณน้ำนมดิบในประเทศลดลงเพราะโคนมให้ผลผลิตน้อยเนื่องจากอากาศร้อน ส่วนผลผลิตน้ำตาลลดลงจากปัญหาภัยแล้งทำให้เกษตรกรตัดอ้อยเร็ว ผลผลิตน้ำตาลต่อต้นอ้อยลดต่ำกว่าปีก่อน

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527