ตุลาคม 2558
ในปีที่ผ่านมา วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้ส่งผลทำให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยโดยรวมหดตัวลงทั้งภาคการผลิตและการส่งออก อย่างไรก็ตาม การหดตัวของอุตสาหกรรมอาหารไม่ได้รุนแรงดังเช่นอุตสาหกรรมอื่น ๆ ของประเทศ เพราะนอกจากอาหารจะเป็นสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีพแล้ว อาหารที่ผลิตในประเทศไทยยังเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาดโลก รวมทั้งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่มีมาตรการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจด้วยการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สอดรับกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ประกอบกับการค่อย ๆ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก เป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยในไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมาขยายตัวดีขึ้นมาก ส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของปี 2552 หดตัวลง น้อยกว่าที่คาด
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยปี 2552 และแรวโน้มปี 2553
จีระศักดิ์ คำสุรีย์
5 มกราคม 2553
ในปีที่ผ่านมา วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้ส่งผลทำให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยโดยรวมหดตัวลงทั้งภาคการผลิตและการส่งออก อย่างไรก็ตาม การหดตัวของอุตสาหกรรมอาหารไม่ได้รุนแรงดังเช่นอุตสาหกรรมอื่น ๆ ของประเทศ เพราะนอกจากอาหารจะเป็นสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีพแล้ว อาหารที่ผลิตในประเทศไทยยังเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาดโลก รวมทั้งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่มีมาตรการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจด้วยการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สอดรับกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ประกอบกับการค่อย ๆ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก เป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยในไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมาขยายตัวดีขึ้นมาก ส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของปี 2552 หดตัวลง น้อยกว่าที่คาด
ส่วนแนวโน้มปี 2553 คาดว่าอุตสาหกรรมอาหารจะขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งภาคการผลิตและภาคการค้าตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมอาหารจะได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนที่เริ่มมีการลดภาษี 0% สำหรับสินค้าหลายรายการใน 6 ประเทศสมาชิกเดิม รวมทั้งอัตราภาษีที่จะลดลงอีกจากความตกลงทางการค้าทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคีที่มีผลบังคับใช้ก่อนหน้า ส่วนปัจจัยลบที่จะกดดัน การเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ การแข็งค่าของเงินบาท เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตร รวมทั้งกระแสการตื่นตัวในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทำให้คู่ค้านำประเด็นดังกล่าว มากำหนดเป็นมาตรการและอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีบังคับใช้อย่างกว้างขวาง
1. ภาวะอุตสาหกรรมอาหารของไทยปี 2552
1.1 ด้านการผลิต
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2552 หดตัวลงร้อยละ 4.6 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 51.6 จากร้อยละ 53.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยการผลิตส่วนใหญ่ หดตัวลงในช่วง 3 ไตรมาสแรก เป็นผลมาจากความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่หดตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่หลายอุตสาหกรรมมีปัญหาการขาดแคลน วัตถุดิบเพื่อป้อนโรงงานแปรรูป เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปผักผลไม้ ปลาหมึก และปลาทะเลสด อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นชัดเจนในช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ส่งผลให้ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2552 หลายอุตสาหกรรมมีดัชนีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ การผลิตน้ำตาล สตาร์ชและผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ การแปรรูปสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์ประเภทอบ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ และเครื่องปรุงรส ส่วนอุตสาหกรรมที่ดัชนีผลผลิตหดตัวลงในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2552 ได้แก่ การแปรรูปผักและผลไม้ มอลต์ลิกเคอ (เบียร์) น้ำมันพืช อาหารสัตว์สำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์จากนม ทั้งนี้ หลายอุตสาหกรรมเริ่มเห็นการผลิตปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 4
1.2 ด้านการนำเข้า
การนำเข้าอาหารของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2552 มีปริมาณ 0.74 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 9.8 มูลค่า 20,059 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้ากลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปขั้นต้นและกลุ่มอาหารสัตว์มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมภายในประเทศกำลังเริ่มฟื้นตัว เพราะสินค้าดังกล่าวส่วนใหญ่นำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และอาหารแปรรูป ส่วนกลุ่มเครื่องดื่ม มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในเดือนนี้หลังจากลดลงต่อเนื่องตลอดปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเพื่อรักษาระดับวต็อกสินค้า รวมทั้งเพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาลปลายปีแต่ยังมิอาจสรุปได้ว่าความเชื่อมั่นในการบริโภคของคนในประเทศฟื้นคืนมาแต่อย่างใดเพราะการนำเข้ากลุ่มสินค้าอาหารสำเร็จรูปยังไม่ฟื้นตัว
download PDF ย้อนกลับ