ตุลาคม 2558
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารไทยโดยรวมในปี 2551 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอัตราร้อยละ 0.3 อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยร้อยละ 53.4 ลดลงจากร้อยละ 54.3 ในปี 2550 เนื่องจากมีแรงกดดันจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบทางการเกษตรในตลาดโลก โดยราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบทางการเกษตรในตลาดโลก โดยราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วง 3 ไตรมาสแรก ก่อนที่จะชะลอตัวลงในช่วงปลายไตรมาส 3 และต่อเนื่องจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ส่วนการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารในปีที่ผ่านมามีปริมาณ 9.0 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 12.8 แต่มูลค่านำเข้าขยายตัวเพิ่มสูงถึงร้อยละ 41.1 คิดเป็นมูลค่า 270,740 ล้านบาท การส่งออกมีปริมาณ 29.0 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 มูลค่าส่งออก 778,056 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0 โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรกภาคส่งออกได้รับอานิสงค์จากวิกฤตการณ์อาหารทำให้ความต้องการสินค้าอาหารในตลาดโลกและราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกได้ปรับตัวสูงขึ้น
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยปี 2551
แนวโน้มไตรมาส 1 และปี 2552
20 มีนาคม 2552
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ปี 2551 เป็นปีที่พิเศษสำหรับอุตสาหกรรมอาหารไทย แม้การผลิตจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่การส่งออกขยายตัวสูงเป็นประวัติการณ์ ภายหลังได้รับอานิสงค์จากราคาสินค้าในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอันเนื่องมากจากวิกฤตการณือาหาร รวมทั้งประเทศคู่ค้าหันมานำเข้าอาหารจากไทยมากขึ้น เพื่อทดแทนสินค้าจากจีนที่เผชิญกับวิกฤตความปลอดภัยอาหารจากการพบสารเมลามีน ปนเปื้อนในนมผงรวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ ในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม วิกฤตการเงินโลกซึ่งมีต้นตอ มาจากปัญหาภาวะฟองสบู่ ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ในสหรัฐฯ ได้ลุกลามใหญ่โตถึงขั้นทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก และท้ายที่สุดก็ส่งผลทำให้ความต้องการสินค้ารวมทั้งราคาอาหารเริ่มปรับตัวลดลงจนถึงปัจจุบัน
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารไทยโดยรวมในปี 2551 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอัตราร้อยละ 0.3 อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยร้อยละ 53.4 ลดลงจากร้อยละ 54.3 ในปี 2550 เนื่องจากมีแรงกดดันจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบทางการเกษตรในตลาดโลก โดยราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบทางการเกษตรในตลาดโลก โดยราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วง 3 ไตรมาสแรก ก่อนที่จะชะลอตัวลงในช่วงปลายไตรมาส 3 และต่อเนื่องจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ส่วนการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารในปีที่ผ่านมามีปริมาณ 9.0 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 12.8 แต่มูลค่านำเข้าขยายตัวเพิ่มสูงถึงร้อยละ 41.1 คิดเป็นมูลค่า 270,740 ล้านบาท การส่งออกมีปริมาณ 29.0 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 มูลค่าส่งออก 778,056 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0 โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรกภาคส่งออกได้รับอานิสงค์จากวิกฤตการณ์อาหารทำให้ความต้องการสินค้าอาหารในตลาดโลกและราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกได้ปรับตัวสูงขึ้น
อย่างไรก็ตามในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 อุตสาหกรรมอาหารไทยได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก เห็นได้จากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมอาหารหลายตัวส่งสัญญาณในทางลบ โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสดังกล่าวลดลงร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นอัตราการหดตัวรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่อุตสาหกรรมอาหารของไทยประสบปัญหาจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในปี 2547 ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรและอาหารหดตัวลงร้อยละ 11.9 ผลักดันให้การส่งออกสินค้าอาหารของไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 4.1 หลังจากขยายตัวสูงถึงร้อยละ 47.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งภาวะอุตสาหกรรมอาหารที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมาเป็นเพียงจุดเริ่มต้น คาดว่ายังมีโอกาสที่จะชะลอตัวต่อไป
จากข้อมูลล่าสุดพบว่า ภาวะอุตสาหกรรมอาหารเดือน มกราคม 2552 ยังคบปรับตัวลดลงเนื่องจากช่วงปลายปีที่แล้ว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารหดตัวลงร้อยละ 16.6 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยร้อยละ 50.2 ลดลงร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นการลดลงต่ำที่สุดภายหลังจากที่มีการจัดทำดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ปี 2543 ทั้งนี้ อุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่มีดัชนีผลผลิตลดลงในเดือนมกราคาโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นส่งออกมีดัชนีผลผลิตหดตัวลงมาก อาทิ อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ และผัก ผลไม้แปรรูป ดัชนีผลผลิตหดตัวลงร้อยละ 15.9 และ 29.2 ตามลำดับ ส่วนอุตสาหกรรมอาหารที่ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นมีเพียงอุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อไก่ ขนมอบ และเครื่องปรุงรส เท่านั้น ที่ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.3, 14.8 และ 11.4 ตามลำดับ
ขณะเดียวกันการส่งออกก็ปรับลดลงในทิศทางเดียวกับภาคการผลิต โดยการส่งออกอาหารไทยในเดือนมกราคม 2552 มีปริมาณเพียง 1.7 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 37.6 มูลค่าส่งออก 49,735 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่หดตัวแรงส่งผลทำให้ความต้องการสินค้าอาหารจากไทยปรับตัวลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่กำลังถดถอยรวมทั้งต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวลดลง ทำให้ผู้นำเข้าใช้เป็นเงื่อนไขเพื่อต่อรองให้ลดราคาสินค้าและชะลอการรับมอบสินค้าในออร์เดอร์เก่าออกไป ทำให้การส่งออกอาหารของไทยหดตัวลงแทบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดหลัก อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอาเซียน (4) มูลค่าส่งออกในเดือนมกราคมลดลงร้อยละ 4.5, 19.9 และ 41.5 ตามลำดับ ยกเว้นญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดหลักเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.8 ส่วนการส่งออกไปยังตลาดใหม่ปรับตัวลดลงแทบทั้งสิ้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสแรกปี 2552 คาดว่าจะหดตัวลงทั้งภาคการผลิตและการส่งออก หลังจากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอาหารเดือนมกราคมส่งสัญญาณการหดตัวรุนแรง โดยเฉพาะสถิติการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่ปรับตัวลดลงกว่าร้อยละ 20 บ่งชี้ว่า อุตสาหกรรมผลิตอาหารเพื่อการส่งออกรวมทั้งบริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลดลงได้อีก โดยในไตรมาสแรกของปี 2552 คาดว่าจะเป็นเพียงการส่งสัญญาณเบื้องต้นก่อนที่จะมีการหดตัวลงรุนแรงในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ของปีนี้ จากการประเมินภาพรวมการส่งออกอาหารในไทยในไตรมาสแรกของปี 2552 จะมี มูลค่าเพียง 153,500 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดยวกันของปีก่อน โดยกลุ่มอาหารสำเร็จรูปจะเป็นสินค้ากลุ่มเดียวในไตรมาสนี้ที่ขยายตัวในแดนบวก ขณะที่สินค้าอาหารในกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ กลุ่มเกษตรวัตถุดิบ อาหารแปรรูปขั้นต้น เครื่องดื่ม รวมทั้งอาหารสัตว์ คาดว่าการส่งออกจะหดตัวลงทั้งหมด
ส่วนภาวะอุตสาหกรรมอาหารในระยะถัดไปมีแนวโน้มหดตัวลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการส่งออกในไตรมาส 2 และ 3 ที่คาดว่าจะลดลงมากกว่าร้อยละ 20 ก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 4 แต่ยังคงมีโอกาสหดตัวลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยในช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มหดตัวลงรุนแรงต่อเนื่องและมิอาจประเมินได้ว่าถึงจุดต่ำสุดเมื่อไร ประกอบกับฐานราคาส่งออกที่สูงในปีก่อน รวมทั้งภาวะการแข่งขันในตลาดต่างประเทศที่จะกลับมารุนแรงขึ้นเพื่อช่วงชิงตลาดสินค้าที่มีขนาดเล็กลง จะส่งผลให้การส่งออกสินค้าอาหารของไทยไปยังตลาดโลกยังคงปรับตัวลดลงได้อีก ขณะที่ภาคการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามการส่งออก แต่อัตราการหดตัวจะน้อยกว่าการส่งออกเนื่องจากยังมีอุตสาหกรรมอาหารบางกลุ่มที่มีตลาดภายในประเทศ มีแนวโน้มขยายตัวได้ หากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสัมฤทธิ์ผล โดยเฉพาะในช่วงภายหลังจากที่เม็ดเงินโครงการต่า ๆ ภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเริ่มไหลเวียนเข้าสู่ระบบตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีนี้เป็นต้นไป
download PDF ย้อนกลับ