สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 4 ภาพรวมปี 2566 และแนวโน้มปี 2567

กุมภาพันธ์ 2567

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2566 หดตัวลงร้อยละ 4.6 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า การหดตัวของภาคการผลิตมีสาเหตุสำคัญจากความต้องการสินค้าที่ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจของคู่ค้าหลักที่ยังคงเผชิญกับแรงกดดันเงินเฟ้อ และการลดลงของปริมาณวัตถุดิบการเกษตรจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดภาวะภัยแล้ง ปริมาณน้ำฝนที่น้อยในช่วงฤดูฝนกระทบต่อการผลิต ทำให้ภาพรวมการผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 อ่อนตัวลง

อุตสาหกรรมรายสาขาที่การผลิตปรับตัวสูงขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ สาขาการผลิตเครื่องปรุงรสประจำโต๊ะอาหาร (+26.9%), นมพร้อมดื่ม (+7.4%), น้ำผลไม้ (+7.0%), กะทิ (+4.1%) และบะหมีกึ่งสำเร็จรูป (+3.3%) อุตสาหกรรมรายสาขาส่วนใหญ่มีการผลิตหดตัวลง อาทิ ปลาทูน่ากระป๋อง (-21.9%), กุ้งแช่แข็ง (-15.9%), กาแฟ (-8.8%), แป้งมันสำปะหลัง (-8.4%), เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น (-7.6%), น้ำตาลทราย (-5.9%), เนื้อไก่ปรุงสุก (5.9%), เครื่องดื่ม (-3.8), ปลาซาร์ดีนกระป๋อง (-1.7) และผลิตภัณฑ์ขนมอบ (-1.1%) เป็นต้น 

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทย ปี 2566 การหดตัวลงร้อยละ 2.9 โดยการหดตัวของภาคการผลิตมีสาเหตุสำคัญจากความต้องการสินค้าที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของคู่ค้าหลักที่ยังคงเผชิญกับแรงกดดันเงินเฟ้อ ขณะที่ความต้องการสินค้าอาหารของทั้งตลาดภายในประเทศและภาคส่งออกก็อ่อนแอลง จากการขาดปัจจัยใหม่ๆ ในการกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับการบริโภคที่ยังอ่อนแอทั่วโลกจากความกังวลเรื่องภาวะสงคราม ทำให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นและระมัดระวังการใช้จ่าย ขณะที่ปรากฎการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดภัยแล้งยังคงส่งผลต่อการลดลงของปริมาณวัตถุดิบสินค้าเกษตร โดยกลุ่มสินค้าหลักที่ดัชนีผลผลิตหดตัวลง

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527