สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 4 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2565

มีนาคม 2565

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการส่งออกและการยริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้นหลังมีการผ่อนคลายมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในหลายประเทศ ส่งผลให้ผูบริโภคออกมาจับจ่ายใช้สอยอย่างต่อเนื่องในช่วงเทศกาล รวมถึงผลจากฐานที่ต่ำในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า

อุตสาหกรรมรายสาขาที่การผลิตปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ น้ำตาลทราย (17.8%), เครื่องปรุงรส(+14.5%), แป้งมันสำปะหลัง (+12.6%), อาหารพร้อมรับประทาน (+5.6%), กะทิ (+4.2%), กุ้งแช่แข็ง (+1.8%), ไก่ (+4.7%) และเครื่องดื่ม (+0.2%) โดยน้ำตาล เพิ่มขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบอ้อยที่เข้าสู่โรงงาน โดยมีการเปิดรับอ้อยเข้าหีบวันที่ 7 ธ.ค. 64 ซึ่งเร็วกว่าปีการผลิตที่ผ่านมา แป้งมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นจากความต้องการนำเข้าที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นสินค้าทดแทนแป้งข้าวโพดในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เนื้อไก่ เพิ่มขึ้นจากการผลิตเนื้อไก่ปรุงสุกเป็นหลัก จากความต้องการบริโภคของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

ส่วนอุตสาหกรรมรายสาขาที่การผลิตหดตัวลง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสินค้าได้รับอานิสงส์อย่างมากจากการกักตุนสินค้าในช่วงการ Lockdowns ในปีก่อน ได้แก่ สับปะรดกระป๋องและทูน่ากระป๋อง ซึ่งเมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติทำให้การผลิตสินค้าทั้งสองกลุ่มหดตัวลง (Base Effect) รวมทั้งผู้นำเข้ามีการสต็อกสินค้าไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า

......

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527