สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 1 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2 ปี 2564

เมษายน 2564

รายละเอียด :

1. การผลิต
การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 มีทิศทาง
ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากที่หดตัวลงในปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภายในประเทศที่
ค่อยๆ ฟื้นตัว และการส่งออกเริ่มกลับเข้าสู่โหมดของการขยายตัวในหลายกลุ่มสินค้า ท่ามกลางแนวโน้ม
เศรษฐกิจโลกที่กำลังปรับตัวดีขึ้น หลังจากประเทศต่างๆ เริ่มฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้กับประชาชน
ส่งผลทำให้อุตสาหกรรมที่เน้นผลิตและจำหน่ายในประเทศ รวมทั้งอุตสาหกรรมที่เน้นผลิตเพื่อการส่งออก
หลายสาขามีการผลิตปรับตัวสูงขึ้น

  อุตสาหกรรมอาหารที่เน้นผลิตและจำหน่ายในประเทศที่การผลิตปรับตัวสูงขึ้น อาทิ การผลิต
เครื่องปรุงรสประจำโต๊ะอาหาร (+15.7%), ซอสถั่วเหลือง (+8.9%), ขนมปังกรอบ (+8.5%), ปลาซาร์ดีน
กระป๋อง (+7.7%), กะทิสำเร็จรูป (+7.4%), ไส้กรอก (+6.2%) และะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (+5.6%) เป็นต้น ส่วน
สาขาการผลิตที่ยังคงหดตัวลง เช่น การผลิตเบียร์ (-11.8%) และน้ำอัดลม (-3.8%) ลดลง เป็นผลมาจากการ
ระบาดของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจสถานบริการเปิดให้บริการลดลง ผู้คนระมัดระวังในการทำกิจกรรมรื่นเริง
ต่างๆ ส่วนเครื่องดื่มกาแฟสำเร็จรูป (-9.8%) ลดลงตามกำลังซื้อของลูกค้าเป้าหมายในกลุ่มแรงงานที่ลดลง

อุตสาหกรรมอาหารที่เน้นการส่งออกและการผลิตปรับตัวสูงขึ้น อาทิ สับปะรดกระป๋อง (+13.0%),
ข้าวโพดหวานกระป๋อง (+12.8%), กุ้งแช่แข็ง (+9.6%), แป้งมันสำปะหลัง (+5.3%) และผักผลไม้แช่แข็ง
(+5.0%) เป็นต้น ส่วนสาขาการผลิตที่ยังคงหดตัวลง อาทิ ปลาหมึกแช่แข็ง (-30.5%), ปลาทูน่ากระป๋อง
(-7.4%) และเนื้อไก่สุกปรุงรส (-3.5%) เป็นต้น โดยปลาหมึกแช่แข็งยังคงอ่อนตัวตามธุรกิจบริการ
ในประเทศผู้นำเข้าหลักที่ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ ปลาทูน่ากระป๋องหดตัวลงจากฐานสูง
ในปีก่อน รวมทั้งราคาที่อ่อนตัวลงตามราคาวัตถุดิบหลัก เนื้อไก่สุกปรุงรสหดตัวลงตามความต้องการของ
ตลาดหลักอย่างญี่ปุ่นที่หดตัวลงเพราะธุรกิจร้านอาหารและท่องเที่ยวยังไม่สา มารถกลับมาดำเนินงานได้
ในระดับปกติ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527