สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนมกราคม และแนวโน้มการส่งออกและสัญญาณเตือนภัย เดือนกุมภาพันธ์ 2568

มีนาคม 2568

รายละเอียด :

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยเดือนมกราคม 2568 ขยายตัวร้อยละ 0.6 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 54.2 ขยายตัวจากร้อยละ 53.9 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน  ตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น สินค้าหลักที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ ผักผลไม้แช่แข็ง (+38.3%) และปลาทูน่ากระป๋อง (+31.5%) เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น (+5.0%) ส่วนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (+3.1%) โดยได้รับความนิยมจากแนวโน้มการบริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย  กลุ่มสินค้าที่มีการผลิตลดลง ได้แก่ กะทิ (-4.9%) และนมพร้อมดื่ม (-3.3%) แป้งมันสำปะหลัง (-2.9%) และน้ำตาลทรายขาวกับน้ำตาลบริสุทธิ์ (-1.3%) ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบ และการแข่งขันในตลาดโลก รวมถึงการปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกไปยังพืชที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า ส่งผลทำให้การผลิตลดลง

การบริโภคในประเทศเดือนมกราคม 2568 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศและความต้องการสินค้าที่หลากหลายเพิ่มขึ้นในตลาด รวมถึงปัจจัยสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งสูงกว่าช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับราคากลุ่มสินค้าอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาผลไม้สด และเครื่องประกอบอาหาร กลุ่มสินค้าที่มีการบริโภคเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มผลไม้สดแปรรูปและอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 กลุ่มอาหารพร้อมทาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เป็นต้น

การส่งออกสินค้าอาหารไทยเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่า 110,081 บาท หดตัวร้อยละ 4.2 (%YoY) โดยได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าอาหารหลักของไทย โดยเฉพาะข้าวและกุ้ง ซึ่งการกลับมาส่งออกข้าวของอินเดีย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกลดลง ทำให้การส่งออกข้าวของไทยได้รับแรงกดดันในด้านการแข่งขันทางราคา ขณะที่การส่งออกไปตลาดจีนหดตัวลงตามสินค้ากุ้งสดแช่แข็งตามความต้องการของตลาดที่อ่อนตัวลงจากภาวะเศรษฐกิจ และการแข่งขันกับกุ้งแช่เเข็งของเวียดนาม

การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการสินค้าอาหารไทยในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยสต็อกสินค้าอาหารในช่วงปลายปี ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศ  อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังคงเผชิญจากหลากหลายปัจจัย เช่น ความผันผวนของค่าเงินบาท ต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลกระทบจากการขึ้นภาษีเพื่อตอบโต้ทางการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527