สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนมิถุนายน และแนวโน้มการส่งออกและสัญญาณเตือนภัย เดือนกรกฎาคม 2567

สิงหาคม 2567

รายละเอียด :

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยเดือนมิถุนายน 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.7 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 50.7 ขยายตัวจากร้อยละ 48.9 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน การขยายตัวของภาคการผลิตมีปัจจัยสำคัญจากในกลุ่มประเทศที่กังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงภัยแล้งที่เกิดขึ้น ทำให้ไทยได้รับอานิสงส์ในการส่งออกสินค้าเกษตร ขณะที่ราคาปลาทูน่าที่เป็นวัตถุดิบหลักในการแปรรูป ประกอบกับการปรับลดราคาสินค้า ส่งผลทำให้ปริมาณคำสั่งซื้อของลูกค้ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง (+19.3%), แป้งมันสำปะหลัง (+9.7%),  กะทิ (+5.5%), น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายบริสุทธิ์ (+5.0%) และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (+2.7.9%) ส่วนกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ ผักผลไม้แช่แข็ง (-29.8%), กุ้งแช่แข็ง (-18.1%), เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น (-1.2%) เป็นต้น

การบริโภคในประเทศเดือนมิถุนายน 2567 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของราคาข้าวที่เป็นสินค้าจำเป็นมีความต้องการ  เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในตลาดโลก ทำให้ราคาข้าวในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 5.4 นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มสินค้าอีกกลุ่มอาหารสำคัญอีกกลุ่มที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นกดดัน การบริโภคภายในประเทศ คือ กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 กลุ่มผลไม้สดและแปรรูปอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 โดยปัจจัยที่ส่งผลทำให้ราคาสินค้าในกลุ่มนี้ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากสินค้าผลไม้เข้าสู่ช่วงท้ายของฤดกาลส่งผลต่อปริมาณการผลิตที่ลดลง

 

การส่งออกสินค้าอาหารไทยเดือนพฤษภาคม 2567 มีมูลค่า 145,509 บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 (%YoY) ปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศที่กังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ขณะที่ราคาวัตถุดิบทั้งในกลุ่มสัตว์น้ำและวัตถุดิบอาหารสัตว์หดตัวลงสวนทางราคาสินค้าอาหารแปรรูปส่วนใหญ่ที่ปรับดีขึ้น ส่งผลทำให้อัตรากำไรขั้นต้นของผู้ประกอบการ (Gross profit/Margin) หลายกลุ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ภาพรวมการส่งออกอาหารไทยจึงขยายตัวดี

 

การส่งออกอาหารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวที่ดีจากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของโลกที่ชะลอตัวลง ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นส่งผลดีต่อภาคการผลิตเพื่อจําหน่ายในประเทศและอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นการส่งออก รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบในกลุ่มอาหารทะเลแปรรูปและอาหารสัตว์เลี้ยงที่อ่อนตัวลง ซึ่งความต้องการปลาทูน่ากระป๋องในกลุ่ม OEM มีแนวโน้มโดดเด่นเพราะได้รับประโยชน์จากราคาขายลดต่ำลงตามต้นทุนวัตถุดิบภายใต้นโยบาย (Cost plus) ที่ผู้ผลิตใช้ในการกำหนดราคาสินค้าจะส่งผลทําให้ปริมาณคําสั่งซื้อของลูกค้ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527