สวัสดี

Monthly Situation

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารเดือนสิงหาคม 2562

กันยายน 2562

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนมิถุนายน 2562 ลดลงร้อยละ 1.7 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 52.2 ลดลงจากร้อยละ 53.5 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน

กลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศที่มีปริมาณการผลิตลดลงในระดับสูง ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส (-18.3%), และน้ำมันพืช (ยกเว้นน้ำมันปาล์ม)  (-14.2%) ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นการส่งออกที่มีปริมาณการผลิตหดตัวลงได้แก่ ผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋อง (-38.0%), น้ำตาล (-22.5%), เนื้อไก่ปรุงสุก (-8.9%), ผลิตภัณฑ์กะทิ (-8.3%) และแป้งมันสำปะหลัง (-2.7%)

การบริโภคภายในประเทศในกลุ่มสินค้าอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของราคาผักและผลไม้ ร้อยละ 7.23 เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 7.06 โดยเฉพาะข้าวสารเหนียว และข้าวสารเจ้า เนื่องจากปริมาณผลผลิตข้าวมีน้อย ขณะที่ความต้องการมีอย่างต่อเนื่อง เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 3.63 (เนื้อสุกร ปลานิล ไก่ย่าง) ไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 1.82 (ไข่ไก่ นมสด นมเปรี้ยว) อาหารบริโภคในบ้าน และนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.97 และ 0.96 ตามลำดับ (กับข้าวสำเร็จรูป อาหารเช้า ข้าวราดแกง) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.52 (กาแฟ (ร้อน/เย็น) น้ำอัดลม น้ำผลไม้) ขณะที่เครื่องประกอบอาหาร ลดลงร้อยละ -0.90 จากการลดลงของ น้ำมันพืช ซีอิ๊ว มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด)

การส่งออกอาหารไทยเดือนกรกฎาคม 2562 มีมูลค่า 91,582 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 10.3 โดยได้รับปัจจัยลบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการแข็งตัวของค่าเงินบาท การส่งออกสินค้าหลักลดลงเกือบทุกรายสินค้า ยกเว้น น้ำตาล ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น จากการส่งออกไปยังกลุ่มอาเซียนเดิม (ASEAN-5) โดยเฉพาะอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นหลัก

•การส่งออกข้าว หดตัวจากสถานการณ์อุปทานในตลาดที่มีอย่างจำกัดจากภาวะภัยแล้ง
และผลกระทบจากค่าเงินบาทที่อยู่ในระดับแข็งค่า ทำให้ราคาข้าวไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่ง
•การส่งออกไก่ ลดลงในทุกรายสินค้า โดยผลิตภัณฑ์ไก่แช่เย็นแช่แข็งลดลงร้อยละ -9.1 ขณะที่ไก่ปรุงสุกลดลงร้อยละ -11.1
•แป้งมันลดลงตามปริมาณวัตถุดิบ เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูกาลผลิตที่มีวัตถุดิบเข้าสู่โรงงานน้อย ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการผลิตลง

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527