พฤษภาคม 2566
Food Fraud หรืออาหารปลอม ที่ไม่ได้หมายถึงอาหารที่ทำมาจากพลาสติกแต่อย่างใด อาหารปลอมในที่นี้อาจจะมาในรูปแบบของอาหารที่ปลอมปมไปด้วยส่วนผสมอื่น ๆ นอกเหนือไปจากที่ฉลากระบุไว้ อย่างเช่นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรป กับกรณีของน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ที่ไม่ได้มาจากมะกอก 100% แต่กลับมีส่วนผสมของน้ำมันพืชอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนล่า น้ำมันเมล็ดทานตะวัน ไปจนถึงน้ำมันปาล์ม รวมถึงการใช้น้ำมันมะกอกคุณภาพต่ำมาผสมและแปะฉลากเป็นน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์
น้ำผึ้งและเมเปิ้ลไซรัป ก็เป็นอาหารอีกประเภทที่พบว่ามีผู้ผลิตบางเจ้าได้ผสมน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมเมเปิ้ลกับสารให้ความหวานที่ถูกกว่า เช่น น้ำเชื่อมข้าวโพด น้ำเชื่อมข้าว น้ำเชื่อมหัวบีท หรือน้ำตาลอ้อย เพื่อลดต้นทุนการผลิต หรือแม้แต่อาหารทะเล ก็มีการสลับสับเปลี่ยนโดยนำปลาสายพันธุ์ถูกกว่ามาทดแทนปลาที่ราคาแพงกว่า
แม้แต่เครื่องเทศ ก็ยังตกเป็นหนึ่งในปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะกับเครื่องเทศที่ราคาสูงอย่างหญ้าฝรั่น ซึ่งพบว่าบางครั้งมีการนำส่วนอื่น ๆ อย่างลำต้น มาผสม หรือการย้อมสีให้เครื่องเทศมีสีสันเฉพาะตัว เช่น พริกป่น ขมิ้น และผงยี่หร่า ซึ่งพบว่ามีสารตะกั่วในสีย้อม ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้เผยแพร่เว็บไซต์ที่มีการรายงานเกี่ยวกับ ปัญหา Food Fraud โดยเฉพาะ ซึ่งประกอบไปด้วยรายงานเกี่ยวกับอาหารปลอม ตัวอย่างการปลอมปน วิธีตรวจจับอาหารปลอม รวมไปถึงข้อมูลการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อช่วยเหลือทั้งผู้บริโภค ผู้นำเข้า และผู้ผลิต
download PDF ย้อนกลับ