พฤษภาคม 2564
วัฒนธรรมการบริโภคแมลงนั้นมีมานานแล้ว และปรากฏอยู่แทบทุกภูมิภาคของโลก ไม่ว่าจะเป็นทวีปเอเชีย อเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลาง เพียงแต่จำกัดอยู่ในเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น โดยปัจจุบันการบริโภคแมลงเป็นอาหาร ได้รับการยอมรับและเริ่มมีความนิยมเพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประกาศให้แมลงเป็น “อาหารทางเลือกใหม่” หรือ “อาหารสำหรับประชากรในอนาคต”[1] เพราะนอกจากแมลงจะเป็นอาหารที่มีโภชนาการสูงทั้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน และใยอาหาร สามารถนำมาใช้เป็นอาหารทดแทนโปรตีนจากสัตว์ใหญ่ได้เป็นอย่างดีแล้ว การเพาะเลี้ยงแมลงยังสิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่าการทำฟาร์มปศุสัตว์ทั่วๆ ไป ส่งผลให้ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม และยังสร้างมลพิษน้อยมากอีกด้วย
[1] Edible insects : Future prospects for food and feed security, Food and Agriculture Organization (FAO) เอกสารเผยแพร่ หัวข้อแมลงที่รับประทานได้ : ลู่ทางความหวังแห่งอนาคตสำหรับความมั่นคงทางอาหารและอาหารสัตว์ ที่มีเนื้อหาคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ภายใน 15 ปี จึงสนับสนุนการบริโภคโปรตีนจากแมลงซึ่งเป็นแนวทางการรับมือกับความมั่นคงทางอาหารในอนาคต
ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวัฒนธรรมการบริโภคแมลง และภาครัฐมีการส่งเสริมให้เลี้ยงแมลงเป็นสัตว์เศรษฐกิจมากว่า 20 ปีแล้ว นอกจากนี้ยังมีแมลงที่รับประทานได้ราว 200 สายพันธุ์ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากแมลงของผู้ประกอบการไทยมีทั้งแบบสด แช่แข็ง ทอด คั่ว ผงบด และบรรจุกระป๋อง ทั้งเป็นอาหารคาว อาทิ น้ำพริกจิ้งหรีดตาแดง จิ้งหรีดกระป๋อง และเป็นขนมขบเคี้ยว อาทิ ข้าวเกรียบบดจากจิ้งหรีด คุ๊กกี้จิ้งหรีด เป็นต้น โดยบางส่วนสามารถแปรรูปในระดับอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกด้วยเช่นกัน
กฎหมายและระเบียบที่ควบคุมในการส่งออก และการขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของแมลงและผลิตภัณฑ์อาหารจากแมลง ไม่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยกฎหมายและระเบียบที่ควบคุมประกอบด้วย
โดยผู้ส่งออกต้องมาตรวจสอบสิทธิ คุณสมบัติ และขอหนังสือรับรองต่างๆ ก่อนดำเนินการส่งออกวัฒนธรรมการบริโภคแมลงนั้นมีมานานแล้ว และปรากฏอยู่แทบทุกภูมิภาคของโลก ไม่ว่าจะเป็นทวีปเอเชีย อเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลาง เพียงแต่จำกัดอยู่ในเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น โดยปัจจุบันการบริโภคแมลงเป็นอาหาร ได้รับการยอมรับและเริ่มมีความนิยมเพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประกาศให้แมลงเป็น “อาหารทางเลือกใหม่” หรือ “อาหารสำหรับประชากรในอนาคต”[1] เพราะนอกจากแมลงจะเป็นอาหารที่มีโภชนาการสูงทั้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน และใยอาหาร สามารถนำมาใช้เป็นอาหารทดแทนโปรตีนจากสัตว์ใหญ่ได้เป็นอย่างดีแล้ว การเพาะเลี้ยงแมลงยังสิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่าการทำฟาร์มปศุสัตว์ทั่วๆ ไป ส่งผลให้ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม และยังสร้างมลพิษน้อยมากอีกด้วย
[1] Edible insects : Future prospects for food and feed security, Food and Agriculture Organization (FAO) เอกสารเผยแพร่ หัวข้อแมลงที่รับประทานได้ : ลู่ทางความหวังแห่งอนาคตสำหรับความมั่นคงทางอาหารและอาหารสัตว์ ที่มีเนื้อหาคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ภายใน 15 ปี จึงสนับสนุนการบริโภคโปรตีนจากแมลงซึ่งเป็นแนวทางการรับมือกับความมั่นคงทางอาหารในอนาคต