มีนาคม 2560
ปัจจุบันโลกอยู่ในสภาวะที่มีขยะเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นอาหารเหลือทิ้ง จากผลในการทิ้งอาหารทำให้ต้องเผชิญกับวิกฤติการสูญเสียอาหารและเกิดขยะอาหารเป็นจำนวนมาก ประมาณหนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตในโลกสำหรับการบริโภคของมนุษย์ทุกๆ ปี เกิดการสูญเสียและเป็นขยะอาหาร ถึงประมาณ 1.3 พันล้านตันต่อปี (ข้อมูลการศึกษาของ FAO,2553) การสูญเสียและการทิ้งขว้างของอาหาร ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ในการเพาะปลูกอาหารโดยไม่จำเป็น ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบห่วงโซ่อาหารในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ช่วงเพาะปลูก เก็บเกี่ยว การผลิต ขนส่ง จนถึงมือผู้บริโภค
อาหารทุกอย่างล้วนมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หากเราทิ้งอาหารจะส่งผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เพราะอาหารที่เหลือทิ้งเป็นขยะอาหารส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
คำนิยาม “การสูญเสียอาหาร (Food Loss) และ อาหารที่ถูกทิ้ง (Food Waste)
FAO ได้ให้คำนิยาม การสูญเสียอาหาร (Food Loss) คือ การลดลงของมวลอาหารที่สามารถบริโภคได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะอาหารสำหรับการบริโภคของมนุษย์ การสูญเสียอาหารเกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิต การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปในห่วงโซ่อุปทานอาหาร (Parfitt et al., 2010)
FAO ได้ให้คำนิยาม อาหารที่ถูกทิ้ง หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ขยะอาหาร (Food Waste) คือ การสูญเสียอาหารในตอนปลายของห่วงโซ่อาหารในขั้นตอนการขายปลีกและการบริโภค ซึ่งเชื่อมโยงไปยังพฤติกรรมของผู้ขายปลีกและผู้บริโภคและการบริโภค (Parfitt et al., 2010)
“อาหาร” ที่สูญเสีย หรือถูกทิ้งนั้น วัดเฉพาะส่วนที่บริโภคได้เท่านั้น หากแต่อาหารที่ผลิตเพื่อการบริโภคของมนุษย์ที่ออกจากห่วงโซ่อาหารของมนุษย์จึงถือเป็นอาหารที่สูญเสียหรือถูกทิ้งเช่นกัน แม้ว่าจะกลายเป็นสิ่งทีไม่ใช่อาหารมนุษย์ (อาหารสัตว์ พลังงานชีวภาพ เป็นต้น) ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามที่จะใช้ประโยชน์ของอาหารเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ที่ไม่ใช่ใช้เป็นอาหารมนุษย์ ถือว่าเป็นการสูญเสียอาหารเช่นเดียวกัน
download PDF ย้อนกลับ