กันยายน 2562
1. ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,566,910 ไร่ มีประชากร 1.74 ล้านคน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมืองราว 960,000 คน โดยเขตเมืองจังหวัดเชียงใหม่จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทยรองจากกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 83 ของจังหวัด เป็นภูเขาและที่ราบเชิงเขา อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.8 องศาเซลเซียส โดยทางทิศเหนือมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์
จังหวัดเชียงใหม่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด 221,218 ล้านบาท สาขาการผลิตที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจของจังหวัด ได้แก่ เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง มีสัดส่วนร้อยละ 22.0 รองลงมาได้แก่ สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สัดส่วนร้อยละ 15.6 สาขาค้าส่งค้าปลีก สัดส่วนร้อยละ 11.9 สาขาการผลิตอุตสาหกรรม สัดส่วนร้อยละ 7.7 สาขาก่อสร้าง สัดส่วนร้อยละ 5.0 และสาขาอื่น ๆ สัดส่วนร้อยละ 37.8
ภาพรวมเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.4 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปีก่อน โดยภาคเศรษฐกิจที่ชะลอลง คือภาคการเกษตร ส่วนภาคเศรษฐกิจที่ยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ คือภาคบริการ ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อ คาดว่าอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ลดลงจากร้อยละ 0.9 ในปีก่อน จากแนวโน้มระดับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลง
ภาพที่ 1 สัดส่วนโครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่
2. โครงสร้างอุตสาหกรรมอาหาร
• ด้านการเกษตรและวัตถุดิบ
จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ทำการเกษตร 1.83 ล้านไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.6 ของพื้นที่รวมทั้งหมด
มีครัวเรือภาคการเกษตร 169,932 ครัวเรือน โดยอำเภอที่มีพื้นที่ทางการเกษตรมากที่สุด คือ อำเภอฝาง จำนวน 210,000 ไร่ และอำเภอที่มีครัวเรือนเกษตรกรมากที่สุด คือ อำเภอแม่แจ่ม จำนวน 12,971 ครัวเรือน
พื้นที่ทำการเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ข้าว พืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น สวนผัก ไม้ดอก สวนไม้ประดับ และเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอื่น ๆ โดยพื้นที่สวนไม้ผลและไม้ยืนต้นมีการใช้พื้นที่สูงที่สุด สัดส่วนร้อยละ 31.5 รองลงมา ได้แก่ ข้าว ร้อยละ 23.4 พืชไร่ ร้อยละ 10.1 พืชผัก ร้อยละ 6.3% และเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอื่น ๆ อีกร้อยละ 28.6% ทั้งนี้ ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกเป็นผลิตภัณฑ์พืช ได้แก่ ข้าว ลำไย ลิ้นจี่ หอมแดง หอมใหญ่ กระเทียม ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ได้แก่ โคนม โคเนื้อ สุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ และผลิตภัณฑ์ประมง ได้แก่ ปลานิล
download PDF
ย้อนกลับ