สวัสดี

Area based Industry

อุตสาหกรรมปลาแมคเคอเรลบรรจุกระป๋อง

พฤษภาคม 2559

รายละเอียด :

ปลากระป๋อง ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ที่ได้จากการแปรรูปปลาให้อยู่ในรูปของปลาในซอสมะเขือเทศ โดยปลาที่นิยมบริโภคมี 2 ชนิด คือ ปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรล ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องถือเป็นอาหารสำเร็จรูปที่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีรสชาติอร่อย สามารถหาซื้อได้ง่าย ราคาถูกและมีความสะดวกรวดเร็วในการรับประทาน     

          ในปี 2558 ภาพรวมตลาดปลาซาร์ดีนและแมคเคอเรลบรรจุกระป๋องในประเทศไทย มีมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาท ตลาดรวมมีการเติบโตประมาณร้อยละ 7 จากปีที่ผ่านมา ตลาดปลากระป๋องมีแบรนด์สินค้ามากกว่า 50 แบรนด์ โดยมีแบรนด์หลัก ๆ คือ สามแม่ครัว โรซ่า และปุ้มปุ้ย ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดปลาซาร์ดีนและแมคเคอเรลบรรจุกระป๋องในตอนนี้ บริษัท ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องตราโรซ่าและไฮคิว

ปลากระป๋อง ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ที่ได้จากการแปรรูปปลาให้อยู่ในรูปของปลาในซอสมะเขือเทศ โดยปลาที่นิยมบริโภคมี 2 ชนิด คือ ปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรล ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องถือเป็นอาหารสำเร็จรูปที่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีรสชาติอร่อย สามารถหาซื้อได้ง่าย ราคาถูกและมีความสะดวกรวดเร็วในการรับประทาน     

          ในปี 2558 ภาพรวมตลาดปลาซาร์ดีนและแมคเคอเรลบรรจุกระป๋องในประเทศไทย มีมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาท ตลาดรวมมีการเติบโตประมาณร้อยละ 7 จากปีที่ผ่านมา ตลาดปลากระป๋องมีแบรนด์สินค้ามากกว่า 50 แบรนด์ โดยมีแบรนด์หลัก ๆ คือ สามแม่ครัว โรซ่า และปุ้มปุ้ย ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดปลาซาร์ดีนและแมคเคอเรลบรรจุกระป๋องในตอนนี้ บริษัท ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องตราโรซ่าและไฮคิว มีแบรนด์สินค้าที่เข้าทำการตลาดในและต่างประเทศอยู่ด้วยกัน 2 แบรนด์ คือ ไฮคิว แบรนด์สินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ปลากระป๋อง และกลุ่มผลิตภัณฑ์ซอส ส่วนอีกหนึ่งแบรนด์ คือ โรซ่า แบรนด์สินค้ากลุ่มปลากระป๋อง กลุ่มผลิตภัณฑ์ซอส และกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทาน ซึ่งในปัจจุบันแบรนด์โรซ่า มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ร้อยละ 20 เป็นอันดับ 2 ของตลาดปลาซาร์ดีนและแมคเคอเรลบรรจุ กระป๋อง และในปัจจุบันพบว่า ผู้บริโภคปลาแมคเคอเรลบรรจุกระป๋องประมาณร้อยละ 75 เป็นกลุ่มผู้บริโภค   ที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 25 เป็นกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ลักษณะการแข่งขันของผู้ผลิตแต่ละรายจะใช้กลยุทธ์ที่ใกล้เคียงกัน คือ เน้นกลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายให้กระจายอย่างทั่วถึง ส่วนการแข่งขันด้านราคา และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งในจุดนี้ผู้ผลิตรายใหญ่ที่ประกอบธุรกิจมานานจะมีข้อได้เปรียบคู่แข่งขันหน้าใหม่ ทั้งในด้านความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีการผลิต ตลอดจนมาตรฐานการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าตั้งแต่วัตถุดิบจนส่งมอบถึงมือผู้บริโภค ดังนั้นลักษณะข้อได้เปรียบดังกล่าวจะเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ผลิตรายใหม่ที่จะเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้

ข้อมูลเบื้องต้น บริษัท ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด

บริษัท ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2529 โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 13 ล้านบาท ด้วยเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นในการที่จะผลิตอาหารสำเร็จรูปคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภค โดยมีโรงงานแห่งแรก ตั้งอยู่ที่อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ในระยะเริ่มต้นของการดำเนินกิจการ บริษัทฯ ได้เน้นไปที่การส่งออกตลาดต่างประเทศ ได้ร่วมทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปสำหรับสัตว์กับคู่ค้าต่างประเทศมากมาย จนกระทั่งสามารถเป็นผู้ผลิตให้กับตราสินค้าที่เป็นผู้นำตลาดในหลายประเทศทั่วโลก

          ในปี พ.ศ.2533 ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการบุกเบิกตลาดในประเทศ ด้วยการนำบรรจุภัณฑ์ที่มี  “ฝาเปิดง่าย” เข้าสู่ตลาดเป็นรายแรก ภายใต้ตราสินค้า “ไฮ-คิว” ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15 ด้วยระยะเวลาอันสั้น อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ตระหนักดีว่า นอกจากการสร้างความแตกต่างที่ตัวสินค้าแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในตราสินค้าก็คือ การพัฒนาคุณภาพของสินค้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการวิจัยและคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ

          ในปี พ.ศ.2539 บริษัท ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 70 ล้านบาท และสามารถประมูลซื้อลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้าตรา “โรซ่า” ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่งผลให้บริษัทฯ ก้าวสู่การเป็นผู้นำตลาดอาหารสำเร็จรูปกับตลาดซอสปรุงรสได้ในที่สุด บริษัทฯ จึงได้ขยายการลงทุนเพิ่มบริษัทในเครืออีก 2 แห่ง คือ บริษัท ไฮคิวแคนนิ่ง (ปัตตานี) จำกัด และบริษัท โรซ่าเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด

          บริษัท ไฮคิวแคนนิ่ง (ปัตตานี) จำกัด ก่อตั้งในปี พ.ศ.2539 ด้วยทุนจดทะเบียน 45 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลบรรจุกระป๋องประมาณ 100 ตันต่อวัน ทั้งนี้ เพราะจังหวัดปัตตานีเป็นแหล่งวัตถุดิบปลาที่สำคัญ การตั้งโรงงานในแหล่งวัตถุดิบ ทำให้บริษัทฯ มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทั้งตลาดในประเทศ และตลาดส่งออกต่างประเทศ

          บริษัท โรซ่าเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2541 ด้วยทุนจดทะเบียน 80 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดหนองคาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตซอสมะเขือเทศเข้มข้น ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตซอสมะเขือเทศ และปลาซาร์ดีนบรรจุกระป๋อง มีกำลังการผลิตถึง 5,000 ตันต่อปี การลงทุนในบริษัท โรซ่าเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ทำให้เราได้วัตถุดิบที่สดใหม่ป้อนเข้าสู่โรงงานได้ทันที นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างงาน และกระจายรายได้ออกสู่ชนบทอีกด้วย ในปัจจุบันนี้ บริษัท โรซ่าเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพผ่านมาตรฐาน GMP และ HACCP

          ปี พ.ศ. 2544 บริษัท ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 130 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานอีกแห่งที่จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงงานแห่งใหม่นี้จะเป็นโรงงานผลิตเครื่องปรุงรสที่ทันสมัย และได้มาตรฐานที่สุดในประเทศไทย เพื่อเป็นการขยายธุรกิจในเชิงรุกเข้าสู่ตลาดเครื่องปรุงรส ซึ่งเป็นตลาดที่บริษัทฯ มีประสบการณ์ และความชำนาญสูง ภายในระยะเวลา 15 ปี ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตของยอดขายเพิ่มมากขึ้นกว่า 30 เท่า การขยายตัวของสินทรัพย์ 73 เท่า การเติบโตที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพราะเรามีปณิฐานและความมุ่งมั่นที่แน่วแน่ ที่จะผลิตแต่สินค้าคุณภาพ และพัฒนาคุณภาพนั้น ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจสูงสุด  

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527