ถามตอบ

ระบบ Pre-Certification ในกลุ่มสินค้าประมงเช่น กุ้ง และกุ้งแปรรูป ปัจจุบันยังมีอยู่หรือไม่

กรมประมงแจ้งว่าระบบ Pre-Certification และการออกใบรับรองCertification of Compliance สำหรับสินค้ากุ้งปัจจุบันได้ยกเลิกแล้ว โดยทางญี่ปุ่นได้ใช้วิธีการสุ่มตรวจ 30% แทน เริ่มตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา โดยสินค้าดังกล่าวสามารถส่งออกโดยไม่ต้องใช้ใบรับรองสุขอนามัย(สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองตรวจสอบรับรองคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง โทรศัพท์ 0-2562-0600-15)

รายชื่อห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองจาก MHLW ได้แก่ที่ไหนบ้าง

ปัจจุบันมี 10 แห่ง ได้แก่
1) กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์นํ้าและผลิตภัณฑ์สัตว์นํ้า กรมประมง
2) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
3) กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4) สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5) สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
6) กลุ่มพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร
7) บริษัท รับตรวจสินค้าโพ้นทะเล จำกัด (Overseas Merchandise Inspection Co., Ltd.)
8) บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย จำกัด
9) สถาบันอาหาร
10) บริษัท เอสจีเอส ประเทศไทยจำกัด

กรณีญี่ปุ่นตรวจพบปัญหาสินค้านำเข้าจะมีการแจ้งไปยัง Quarantine station อื่นๆ หรือเผยแพร่ในเว็บไซต์ใดบ้าง

ญี่ปุ่นมีระบบเชื่อมโยงกันระหว่างสำนักงานกักกันแต่ละแห่งทั่วประเทศ ทั้ง 31 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการขออนุญาตนำเข้า หรือข้อมูลการกักกันสินค้า โดยสามารถดูรายละเอียดได้จาก
http://www.mhlw.go.jp/english/topics/importedfoods/index.html

ห้องแล็ปของสำนักงานกักกันใช้วิธีการตรวจด้านจุลินทรีย์เหมือนกันหรือไม่ แล้วสำนักงานกักกันที่ไม่มีแล็ปจะส่งไปตรวจที่ไหน

สำนักงานกักกันทุกแห่งในญี่ปุ่นตรวจวิเคราะห์โดยใช้มาตรฐานเดียวกันทุกแห่ง หากสินค้าถูกส่งเข้ามาที่สำนักงานกักกันที่ไม่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้จะถูกส่งไปที่แล็ปศูนย์กลาง ซึ่งมี 2 แห่ง คือภาคตะวันออกอยู่ที่โยโกฮามาและภาคตะวันตกอยู่ที่โกเบ

ข้อมูล GMO จะสืบค้นได้จากที่ไหน มีแค่ 5 ชนิดใช่หรือไม่

ค้นข้อมูลด้าน GMO ได้จาก
http://www.maff.go.jp/e/jas/labeling/pdf/modi01.pdf
ปัจจุบันรายการพืช GMO ของญี่ปุ่นมี 7 รายการดังนี้
1) Soybean (including green soybeans and soybean sprouts)
2) Corn
3) Potato
4) Rapeseed
5) Cottonseed
6) Alfalfa
7) Sugar beet

รายการ Food Additive ที่ไม่อนุญาตให้ใช้หรือ banned ของญี่ปุ่นมีอะไรบ้าง จะตรวจสอบได้จากที่ไหน

ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหารของญี่ปุ่นสามารถดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์
http://www.mhlw.go.jp/english/topics/foodsafety/foodadditives/index.htmlและ
http://www.jetro.go.jp/en/reports/regulations/pdf/foodext2010e.pdf
ปัจจุบันมีวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้จำนวน 413 รายการ และ เป็นวัตถุเจือปนอาหารจากธรรมชาติสามารถใช้ได้ตาม Food Sanitation Law อีก 365 รายการ (Existing Food Additives) ที่ และมี 48 รายการที่อยู่ในระหว่าตรวตสอบ โดยมี 125 รายการที่ถูกเสนอห้ามใช้ซึ่งสามารถตรวจสอบรายชื่อได้จากเว็บไซต์ NFI

ที่ว่า “สารเคมีที่ไม่กำหนดมาตรฐานใน positive list ให้ใช้เกณฑ์ < 0.01 ppm” แสดงว่ามีโอกาสสุ่มตรวจทุกตัวโดยใช้เกณฑ์นี้หรือไม่ ผู้ประกอบการจะป้องกันได้อย่างไร

เกณฑ์น้อยกว่า 0.01 ppm นั้น เป็นชนิดสารเคมีที่ญี่ปุ่นจะใช้วิธีสุ่มตรวจ เนื่องจากเป็นสารกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการคือควรตรวจสอบรายการที่เป็น Not detected ทั้ง 19 รายการ และตรวจสอบการใช้สารเคมีที่เกษตรกรอื่นๆ ที่ใช้เพื่อเฝ้าระวังว่ามีสารเคมีใดบ้างเข้าข่ายเป็น Uniform MRL ที่มีเกณฑ์ 0.01 ppm

รายชื่อผู้ประกอบการอาหารส่งออกของไทย สามารถสืบค้นได้จากที่ไหน

มีรวบรวมไว้ในเว็บไซต์ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารหรือ FIC
(http://fic.nfi.or.th/th/home/default.asp) และสามารถสืบค้นได้จากเว็บไซต์ กรมส่งเสริมการส่งออก (http://www.depthai.go.th/) หรือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (http://www.diw.go.th/diw/index.asp)