พฤษภาคม 2558
ผศ.จักรพงษ์ พิมพ์พิมล อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินงานวิจัยพัฒนาเทคนิคและวิธีการรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) วิธีใหม่ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ผศ.จักรพงษ์ พิมพ์พิมล อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินงานวิจัยพัฒนาเทคนิคและวิธีการรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) วิธีใหม่ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
โดยการผลิตเครื่องรมแก๊ส ซึ่งมีหลักการทำงาน คือ การนำระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับเข้ามาใช้กระบวนการรม เพื่อให้แก๊สสัมผัสกับลำไยได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังลดระดับความเข้มข้นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ใช้ (SO2) และการนำแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากถังอัดความดันโดยตรงมาใช้ทดแทนการเผาผงกำมะถัน เพื่อให้มีมาตรฐานหรือได้รับการยอมรับจากต่างชาติมากขึ้น
ทั้งนี้ ทีมวิจัยต้องใช้เวลากว่า 5 ปี เพื่อศึกษาวิจัยจนเป็นผลสำเร็จ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ห้องรมหรือห้องอบระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับแนวตั้ง (Vertical forced-air) เหมาะสำหรับนำมาใช้ในกระบวนการรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับผลลำไยสด เนื่องจากช่วยลดระดับความเข้มข้นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์หลังสิ้นสุดการรมเหลือเพียง 4,000 ppm หรือ 4-5 เท่า เมื่อเทียบกับระดับความเข้มข้นของ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ผู้ประกอบการใช้อยู่ปัจจุบันคือ 15,000-20,000 ppm
การรมแก๊สเป็นขั้นตอนสำคัญของการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย เนื่องจากช่วยควบคุมโรคและยืดอายุการเก็บรักษา รวมทั้งยังช่วยฟอกสีผิวของผลลำไยให้สีสวยงามอีกด้วย แต่ปัญหาสำคัญของการใช้การรมแก๊ส คือ การ
download PDF ย้อนกลับ