สวัสดี

Technology & Innovation

เนื้อจากรา เฮลท์ตี้กว่า รสสัมผัสไม่ต่างจากเนื้อจริง

สิงหาคม 2565

รายละเอียด :

ในปัจจุบันเทรนด์ของเนื้อเทียมกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเทียมจากพืช เนื้อเทียมจากการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ และเนื้อเทียมจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ผู้พัฒนาจึงเล็งเห็นช่องว่างในตลาดเนื้อเทียมที่ยังไม่มีเนื้อสัตว์ที่ผลิตมาจากเชื้อรา จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นเพื่อเข้าแข่งขันแย่งส่วนแบ่งในตลาดเนื้อเทียม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ชื่อผลิตภัณฑ์ :

Mycelium-based (โปรตีนจากเชื้อรา)

ผู้คิดค้นและพัฒนา :

Atlast Food และ Meati Foods ประเทศสหรัฐอเมริกา

แนวคิดผลิตภัณฑ์ :

ในปัจจุบันเทรนด์ของเนื้อเทียมกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเทียมจากพืช เนื้อเทียมจากการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ และเนื้อเทียมจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ผู้พัฒนาจึงเล็งเห็นช่องว่างในตลาดเนื้อเทียมที่ยังไม่มีเนื้อสัตว์ที่ผลิตมาจากเชื้อรา จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นเพื่อเข้าแข่งขันแย่งส่วนแบ่งในตลาดเนื้อเทียม

ลักษณะและจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ :

  • Mycelium เป็นราที่มีเส้นใยคล้ายโฟม โดยใช้หัวเชื้อของเห็ดนางรมนำมาบ่มเพาะในถาดเพาะตามสภาวะที่เหมาะสมเพื่อให้มีการเติบโตในรูปแบบเส้นใยแทนการเติบโตแบบเห็ดปกติ ซึ่งมีความปลอดภัย และโปรตีนที่ได้มีโครงสร้างและโมเลกุลไม่ต่างจากเห็ดทั่วไป
  • เส้นใยของ Mycelium มีความหนา 30 ไมครอน ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับมัดกล้ามเนื้อในเนื้อวัว จึงสามารถนำเส้นใยมาจัดเรียงให้มีช่องว่าง เนื้อสัมผัส ความแข็ง และลักษณะการจัดเรียงให้ใกล้เคียงกับของเนื้อวัว
  • โปรตีนจากเชื้อราที่ได้มีกรดอะมิโนเหมือนในเนื้อสัตว์ และยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ เหมือนในพืช

ความเห็น :

โปรตีนจากเชื้อรานี้ ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก และหากมองในมุมผู้บริโภค โปรตีนจากเชื้อรานี้ เป็นเส้นใยที่ได้จากเชื้อราหรือเห็ดที่เป็นที่รู้จัก คุ้นเคย และรับประทานเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่เหมือนการสกัดโปรตีนหรือการสร้างเนื้อเทียมจากจุลินทรีย์ที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรม จึงสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคเลือกรับประทานได้ง่ายกว่าแบบอื่น

 

 

ที่มา: https://brandinside.asia/mycelium-based-protein-on-the-move/ สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527