สวัสดี

Technology & Innovation

ไม่ได้ "ดีแต่เค็ม" แต่ "เค็มและดี"

พฤษภาคม 2558

รายละเอียด :

"น้ำปลา กะปิ ซีอ้ิว เกลือ ซอส" คือเครื่องปรุงรสเค็มส่วนผสมความอร่อยที่อยู่คู่ครัวคนไทยมาช้านานเปรียบเหมือนเครื่องรางของขลังสำหรับแม่บ้าน เรียกขวัญและกำลังใจให้พร้อมรับมือกับความหิวของสมาชิกในครอบครัวอย่างมั่นใจ

 

            รสเค็มของเครื่องปรุงรสเกิดจาก เกลือ ซึ่งเป็นแร่ธาตุทางโภชนาการชนิดหนึ่ง เกลือสำหรับบริโภคส่วนใหญ่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride) เป็นส่วนสำคัญ มีลักษณะเป็นผลึกใสหรือผลึกสีขาว ได้จากทะเล เกลือหินและน้ำเกลือตามธรรมชาติ โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันได้แก่ เกลือสมุทร เกลือหินและเกลือสินเธาว์ ตามลำดับ

            เกลือที่เรารู้จักและพบเห็นมาจนชินตา คือเกลือที่เป็นผง เม็ด หรือก้อนสีขาว บ้างบรรจุอยู่ในถุง ขนาดเล็กๆ บ้างอยู่ในขวดใส ราคาไม่กี่สิบบาท  แปลกที่สุดเห็นจะเป็นน้ำเกลือสำหรับรักษาโรคอยู่ในโรงพยาบาล ทั้งนี้เป็นเพราะการสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์เกลือในปัจจุบันยังไม่ได้เน้นที่ตัวเกลือ โดยตรง ส่วนใหญ่เน้นไปที่การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้โดดเด่น จนเมื่อได้พบกับ Mengazzoli ผู้ผลิตและจำหน่ายเกลือคุณภาพสูง หลากสีสัน ทำให้โลกของเกลือที่เราเคยรู้จัก เปิดกว้างขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อดังนั้นหากใครบอกว่า เกลือดีแต่เค็ม ขอแย้งเลยว่าเกลือเค็มแล้วดี ต่างหาก

เกลือเค็มแล้วดีจากทั่วโลก

            Black liquid salt of Hawaii  น้ำเกลือสีดำเข้มดูน่าฉงนนี้ เป็นเกลือที่ได้จากเกาะโมโลไก ในฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริเวณภูเขาไฟ ดังนั้นภูมิประเทศจึงอุดมไปด้วยแร่ธาตุ โดยเฉพราะถ่าน (charcoal)  ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้เกลือที่ได้เป็นสีดำ

Black liquid salt of Hawaii  มีกลิ่นหอมควันจากกำมะถัน และมีคุณสมบัติพิเศษในการขับถ่ายสานพิษ (detoxifying) ลดความเสี่ยงจากภาวะความดันโลหิตสูง เหมาะสำหรับรับประทานกับอาหารทะเล เช่น แซลมอน คาร์เวีย หรือสลัดผัก เป็นต้น

Red liquid salt of Hawaii น้ำเกลือสีแดงสดใสนี้เป็นเกลือพื้นเมืองของ ฮาวาย มีอีกชื่อหนึ่งว่า Alaea ซึ่งเป็นชื่อของแร่ธาตุธรรมชาติชนิดหนึ่ง ได้มาจากเถ้าสีแดงซึ่งเกิดจากภูเขาไฟระเบิด ทำให้เกลือที่ได้มีสีแดง

Red liquid salt of Hawaii มีรสชาติเค็มอ่อนๆ มีธาตุเหล็กอยู่สูงกว่าปกติถึง 5 เท่าดีต่อผู้บริโภคที่มีภาวะโลหิตจาง เหมาะสำหรับรับประทานกับเนื้อย่างชนิดต่างๆ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527