สวัสดี

Technology & Innovation

“แคปหมูป๊อบ” นวัตกรรมของฝากสุดป๊อบปูล่า

พฤษภาคม 2558

รายละเอียด :

ในการแข่งขันรถวิบาก ผู้แข่งขันที่สำรองน้ำมันเอาไว้ในปริมาณที่มากกว่าคู่แข่ง ย่อมมีโอกาสคว้าชัยชนะ แต่ในการแข่งขันของธุรกิจ “แคบหมู” หากผลิตภัณฑ์ของใครสำรองน้ำมันเอาไว้เยอะๆ นั้น โอกาสพ่ายแพ้ในสนามแข่งขันยิ่งสูงมากเป็นเท่าตัว นั่นก็เป็นเพราะน้ำมันสำหรับทอด ที่หลงเหลืออยู่ในแคบหมู คือศัตรูตัวร้ายของผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืน อายุการเก็บรักษาสั้น และหากผู้บริโภครับประทานมากๆ ก็จะอายุสั้นลงเช่นเดียวกัน

ในการแข่งขันรถวิบาก ผู้แข่งขันที่สำรองน้ำมันเอาไว้ในปริมาณที่มากกว่าคู่แข่ง ย่อมมีโอกาสคว้าชัยชนะ แต่ในการแข่งขันของธุรกิจ “แคบหมู” หากผลิตภัณฑ์ของใครสำรองน้ำมันเอาไว้เยอะๆ นั้น โอกาสพ่ายแพ้ในสนามแข่งขันยิ่งสูงมากเป็นเท่าตัว นั่นก็เป็นเพราะน้ำมันสำหรับทอด ที่หลงเหลืออยู่ในแคบหมู คือศัตรูตัวร้ายของผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืน อายุการเก็บรักษาสั้น และหากผู้บริโภครับประทานมากๆ ก็จะอายุสั้นลงเช่นเดียวกัน

    คุณชัดชาญ เอกชัยพัฒนกุล เจ้าของตำนาน “เชียงใหม่วนัสนันท์” ร้านของฝากชื่อดังที่คนไทยแทบทุกคนต่างรู้จัก ได้เปิดเผยข้อมูลที่เรารู้สึกตกใจเล็กน้อยว่า “ทุกวันนี้ เราซื้อแคบหมู จะได้รับของแถมเป็นน้ำมัน” ของแถมที่ว่า ไม่ได้ใช้แสตมป์สะสมเพื่อแลกรับของที่จุดจำหน่าย และไม่ได้แพ็คติดกับห่อแคบหมูแต่อย่างใด แต่เป็นน้ำมันที่ถูกแคบหมูดูดซับไว้หลังจากการทอด โดยแคบหมู 1 ถุง จะมีน้ำมันเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 30 นั่นคือ “หากเราซื้อแคบหมู 1 กิโลกรัม เราจะได้น้ำมันกลับบ้านไป 300 กรัม” เป็นปริมาณที่ไม่น้อยเลยทีเดียว สิ่งนี้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยผู้บริโภคมีแนวโน้มลดปริมาณการซื้อและบริโภคลงอย่างเห็นได้ชัด และสำหรับผู้ผลิตเองต้องประสบปัญหาการเพิ่มต้นทุนการผลิต ผลิตภัณฑ์เหม็นหืนง่าย และเก็บรักษายาก 

 

ลดน้ำมัน ลดน้ำหนัก
    
“การกำจัดน้ำมันออกจากแคบหมู จะทำให้แคบหมูไม่เหม็นหืน เก็บไว้ได้นาน ดีต่อสุขภาพและลดต้นทุน” ดูเป็นเรื่องหมูๆ แต่ถ้าถามต่อว่า “แล้วทำอย่างไรจึงจะกำจัดน้ำมันออกจากแคบหมูได้” ปัญหาหมูๆ กลับค่อยโตจนกลายเป็นปัญหาช้างๆ ในพริบตา หากขุดถึงต้นตอที่แท้จริงของปัญหา “น้ำมัน” คือตัวการสำคัญ ดังนั้นแล้ว หากทำให้แคบหมูสุกกรอบโดยไม่ใช้น้ำมัน นั่นคือการแก้ปัญหาที่แท้จริง

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527