สวัสดี

Technology & Innovation

WikipearlTMบรรจุภัณฑ์กินได้ ทางเลือกใหม่จากธรรมชาติ

เมษายน 2558

รายละเอียด :

มนุษย์ต้องการความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น รูปแบบการบริโภคของสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่เป็นปัญหาอันเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลง คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงทำให้มีหลายคนหรือบุคคลหลายกลุ่มมีแนวความคิดจะสร้างสิ่งแปลกใหม่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ปราศจากการใช้พลาสติก แต่หันมาใช้สิ่งที่ได้จากธรรมชาติ และย่อยสลายได้ง่ายทดแทน โดยมีการคิดค้นบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่สำหรับบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติวิถีการกินดื่มของผู้คนในอนาคต เพราะบรรจุภัณฑ์แบบใหม่นี้สามารถทดแทนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกได้หลากหลายรูปแบบ ด้วยต้นทุนการผลิตที่ไม่สูง และที่น่าสนใจคือ บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้เป็นบรรจุภัณฑ์รับประทานได้“Wikipearl”

บรรดาสารพัดขยะที่เราทิ้งในแต่ละวันนั้น มีจ านวนไม่น้อยที่เป็นขยะจาก “บรรจุภัณฑ์” ขยะที่ทิ้งจากครัวเรือนทั่วไปจะเห็นส่วนที่เคยเป็นบรรจุภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติก ห่อขนมขบเคี้ยว โฟม กล่องกระดาษ ขวดแก้ว กระป๋อง เป็นต้น ปะปนอยู่ค่อนข้างมาก ปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์ในขยะครัวเรือนจะมากหรือน้อยขึ้นกับพฤติกรรมการบริโภค และจิตสำนึกของประชาชน รวมถึงกฏหมายและโครงสร้างพื้นฐานในการรีไซเคิลขยะในประเทศนั้น การที่ความต้องการของบรรจุภัณฑ์มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเกิดจากปัจจัยทางสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เช่น การเพิ่มจำนวนของประชากร การเพิ่มขึ้นของเครือข่ายการคมนาคมจากทุกส่วนของโลก กำลังการผลิตสินค้าอุปโภค บริโภคสูงขึ้น มนุษย์ต้องการความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น รูปแบบการบริโภคของสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่เป็นปัญหาอันเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลง คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงทำให้มีหลายคนหรือบุคคลหลายกลุ่มมีแนวความคิดจะสร้างสิ่งแปลกใหม่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ปราศจากการใช้พลาสติก แต่หันมาใช้สิ่งที่ได้จากธรรมชาติ และย่อยสลายได้ง่ายทดแทน โดยมีการคิดค้นบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่สำหรับบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติวิถีการกินดื่มของผู้คนในอนาคต เพราะบรรจุภัณฑ์แบบใหม่นี้สามารถทดแทนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกได้หลากหลายรูปแบบ ด้วยต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงและที่น่าสนใจคือ บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้เป็นบรรจุภัณฑ์รับประทานได้“Wikipearl”

เปิดแนวคิดสร้างสรรค์ “ WikiPearl™” เป็นบรรจุภัณฑ์ที่คิดค้นและพัฒนาโดยศาสตราจารย์ David Edwards นักวิศวกรรมชีวภาพและอาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ร่วมกับนักออกแบบชาว
ฝรั่งเศส François Azambourg และนักชีววิทยา DonIngber ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากเซลล์ธรรมชาติในผลไม้อย่างองุ่นหรือมะพร้าว ที่มีเปลือกนอกห่อหุ้มเนื้อและของเหลวภายในมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์จะเห็นได้ว่าเปลือกที่ห่อหุ้มนั้นทำหน้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความคงทนและย่อยสลายได้ในตัวเอง ทำให้ไม่จำเป็นต้องบรรจุใส่ในกล่องหรือถุงต่างหาก นอกจากนั้นเปลือกของมันยังสามารถรับประทานได้อีกด้วย แต่ในกรณีของผลไม้ชนิดอื่นอย่างแอปเปิ้ลหรือลูกพีชนั้น การรับประทานเปลือกของมันก็เป็นเรื่องปกติความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่พบในผลไม้เหล่านี้จึงกลายเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์เทคโนโลยี WikiCells ของ WikiPearl™ ซึ่งมีลักษณะเป็นบรรจุภัณฑ์สองชั้นที่สามารถรับประทานได้ โดยชั้นนอกทำหน้าที่ห่อหุ้มและพยุงอาหารหรือของเหลว ด้วยการนำส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น ช็อคโกแลต ผลไม้ ถั่วเมล็ดธัญพืช ฯลฯ มาผสมกับแคลเซียม และไคโตซาน (ไบโอพอลิเมอร์ธรรมชาติจากเปลือกหอยหรือกุ้ง) หรือแอลจิเนต (สารสกัดจากสาหร่าย)เพื่อให้เกิดการจับตัวเป็นเปลือกนิ่มๆ ส่วนบรรจุภัณฑ์ชั้นในจะเป็นอาหารและเครื่องดื่ม เช่น โยเกิร์ต ไอศกรีม น้ำผลไม้ เป็นต้น บรรจุภัณฑ์แบบใหม่นี้สามารถปรับเปลี่ยนขนาดรูปแบบ และรสชาติได้หลากหลาย

 

นอกจากนี้ยังสามารถเติมสารอาหารอื่นๆ ลงไป เพื่อเพิ่มโภชนาการให้แก่อาหารและเครื่องดื่มได้อีกด้วย แต่เนื่องจากเทคโนโลยียังอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงยังต้องมีการวิจัยและพัฒนาอีกมาก ในขณะที่ผู้บริโภคเองคงต้องใช้เวลาในการท าความเข้าใจและเปลี่ยนแปลงกระบวนการรับรู้ในบรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่นี้พอสมควร ด้วยเหตุนี้ ร้าน Wikibar ซึ่งจ าหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่จึงเกิดขึ้นในปารีสเป็นสาขาแรก เมื่อต้นปี 2013 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์และเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้สัมผัส รวมถึงท าความเข้าใจกับผลิตภัณฑ์นี้มากขึ้น โดยรายการอาหารชุดแรกๆ ที่วางจ าหน่ายในร้าน ได้แก่ไอศกรีม โยเกิร์ต และชีส ซึ่งออกแบบให้บรรจุใน WikiCell ทรงกลมขนาดพอดีค า สามารถหยิบรับประทานด้วยมือได้ทันทีท าให้การ

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527