สวัสดี

อุตสาหกรรมอาหารโลกไตรมาสที่ 1 ปี 2566 และแนวโน้ม

แชร์:
Favorite (38)

กรกฎาคม 2566

การค้าอาหารโลกในไตรมาสที่ 1/2566 มีมูลค่า 431 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มร้อยละ 2.4 จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้นตามความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว หลังจากที่หลายประเทศมีการเปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศได้อย่างเต็มรูปแบบ ประกอบกับความต้องการบริโภคสินค้าอาหารเพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาล และอานิสงส์จากราคาสินค้าอาหารส่งออกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง จากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต อาทิ ต้นทุนการผลิต ราคาพลังงาน ราคาอาหารสัตว์ และค่าขนส่ง

โดยสินค้าที่มีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลไม้ (7.7%) ถั่วเหลือง (5.5%) ข้าวสาลี (3.5%) ข้าวโพด (3.3%) และโกโก้และผลิตภัณฑ์ (3.3%) ขณะที่ประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ สหรัฐฯ มีมูลค่าการส่งออก 42.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.9  ของมูลค่าการส่งออกโลก    จากการส่งออกถั่วเหลือง ข้าวโพด และข้าวสาลีเป็นต้น รองลงมาได้แก่ เนเธอแลนด์ 28.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ  คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.5 ของมูลค่าการส่งออกโลก จากการส่งออกโกโก้ ชีสและเคิร์ก และเนื้อวัว และ บราซิล 27.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.3 ของมูลค่าการส่งออกโลก จากการส่งออกถั่วเหลือง ข้าวโพด และน้ำตาลเป็นต้น

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากอัตราการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าอาหารรายประเทศพบว่า ในไตรมาส 1/2566 จีนมีการนำเข้าขยายตัวถึงร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการนำเข้า 51 พันล้านบาท จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 รวมถึงการประกาศเปิดประเทศ หลังจากใช้มาตรการควบคุม        โรคระบาด อย่างเข้มงวดเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 3 ปี ส่งผลดีต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในประเทศทั้งภาค    การผลิต และภาคการท่องเที่ยว ทำให้มีความต้องการสินค้าอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยสินค้าที่จีนมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงได้แก่ น้ำมันปาล์ม (96%) ข้าวสาลี (49.1%) หมู (56.7%) ถั่วเหลือง (24.7%) ข้าวโพด (19.6%) และกุ้ง (10.0%)

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527