สวัสดี

ตลาดขนมขบเคี้ยวในประเทศซาอุดิอาระเบีย

แชร์:
Favorite (38)

กุมภาพันธ์ 2567

การบริโภคขนมขบเคี้ยวโดยรวมในประเทศซาอุดิอาระเบียเริ่มฟื้นตัวเต็มที่ถึงระดับปกติก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากการบริโภคอาหารนอกบ้านและการพบปะสังสรรค์กันของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ผลิตได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวใหม่ ๆ ที่ตอบสนองความการของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น ถั่ว ที่มีการผสมธัญพืชหลากหลายชนิดในบรรจุภัณฑ์เดียว นอกจากนี้ ช่วงเดือนนรอมฎอน หรือเดือนแห่งการถือศีลอดของชาวมุสลิม ยังช่วยเพิ่มยอดขายขนมขบเคี้ยวให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะขนมที่นิยมบริโภคในช่วงเดือนรอมฎอนเช่น บาสบูซาและบาคลาวา ซึ่งมีถั่วเป็นส่วนประกอบส่งผลทำให้ความต้องการถั่วเพิ่มขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินเฟ้อและค่าคลองชีพที่สูงขึ้น อาจทำให้ผู้บริโภคลดความถี่ในการซื้อขนมขบเคี้ยวลงได้บ้างเล็กน้อย โดยยอดขายขนมขบเคี้ยวในประเทศซาอุดิอาระเบียปี 2566 มีมูลค่า 4,285 ล้านริยาล สูงกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19

ในประเทศซาอุดิอาระเบียมีมันฝรั่งแผ่นและถั่วเป็นกลุ่มขนมขบเคี้ยวที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาพัฟ ข้าวโพดกรอบ และบิสกิต โดยมีผู้ผลิตรายใหญ่ 2 ราย ได้แก่ Saudi Snack Foods Co., Ltd. และ National Biscuit and Confectionery Co., Ltd. เป็นผู้นำตลาดขนมขบเคี้ยวในปี 2566 อย่างไรก็ตาม Saudi Snack Foods (บริษัทร่วมทุนของ PepsiCo ที่มีสาขาทั่วโลก) ยังคงเป็นผู้เล่นที่สามารถครองส่วนแบ่งทางการได้มากถึงร้อยละ 35 โดยจำหน่ายขนมขบเคี้ยวประเภทมันฝรั่งเป็นหลัก มีฐานลูกค้าเด็กเล็กที่มีความภักดีต่อแบรนด์อย่างมาก ซึ่งถึงแม้ว่าแนวโน้มการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพจะเพิ่มขึ้นในซาอุดิอาระเบีย แต่ขนมขบเคี้ยวอย่างมันฝรั่งแผ่นก็ยังคงครองยอดขายในปริมาณมากจากลูกค้ากลุ่มนี้นั่นเอง

ในระหว่างปี 2566 มีผู้เล่นรายใหม่อย่างบริษัทสัญชาติคูเวตคือ Kuwait Indo Trading Co WLL ได้ก้าวเข้าสู่ตลาดขนมขบเคี้ยวของซาอุดิอาระเบีย โดยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวหลากหลายชนิดและรสชาติเข้าสู่ตลาด เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวที่เป็นแบรนด์ของห้างสรรพสินค้า (house brand) และขนมขบเคี้ยวของผู้ผลิตท้องถิ่น ทะยอยเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ หลังโควิด-19 ผู้บริโภคมีค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนพยายามประหยัดค่าใช้จ่ายโดยลดความถี่ในการซื้อสินค้ากลุ่มขนมขบเคี้ยวลง ทำให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องปรับลดขนาดบรรจุของขนมขบเคี้ยวแทนการขึ้นราคาของผลิตภัณฑ์ และมอบส่วนลดในการซื้อปริมาณมาก สำหรับผู้บริโภควัยทำงาน ณ จุดขาย เพื่อรักษาความต้องการของผู้บริโภคไว้

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527