สวัสดี

ซาอุดิอาระเบีย...ตลาดใหญ่เป้าหมายที่ไม่ควรมองข้าม

แชร์:
Favorite (38)

มิถุนายน 2565

อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เกิดการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและซาอุดิอาระเบีย ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ซาอุดิอาระเบียได้มีการทำยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ประเทศใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2559 หรือ Saudi Vision 2030 ที่มีเนื้อหาสาระครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และวางแผนการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดดให้ข้ามผ่านการเป็นประเทศที่ระบบเศรษฐกิจอาศัยรายได้หลักจากน้ำมันเพียงอย่างเดียว Saudi Vision 2030 เป็นยุทธศาสตร์ที่ดึงความแข็งแกร่งของราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียทั้งด้านศาสนา การลงทุน เพื่อก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และตำแหน่งภูมิรัฐศาสตร์ที่เชื่อม 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา โดยวิสัยทัศน์นี้จะมีรายละเอียดครอบคลุม 3 ประเด็นการพัฒนาหลัก

  1. Ambitious Nation ประเทศที่มีความทะเยอทะยาน - การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐบาลและการสร้างสังคมที่เปี่ยมไปด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
  2. Thriving Economy เศรษฐกิจที่เฟื่องฟู - การสร้างงาน และสร้างการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและระบบเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย
  3. Vibrant Society สังคมที่มีชีวิตชีวา -การพัฒนาความเข้มแข็งของคุณค่าทางอิสลาม (Islamic values) อัตลักษณ์ของประเทศ สุขภาวะ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และระบบสันทนาการของประเทศ เพื่อสอดรับและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันรวมถึงอนาคตอันใกล้ โดยมีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมและจับต้องได้ ผ่านเป้าประสงค์ทางยุทธศาสตร์ย่อยทั้งหมด 96 ตัว (strategic objectives) และการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะผ่านระบบข้อมูลเปิด (open data)

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เปิดเผยข้อมูลในรายงานประจำปี (World Economic Outlook, 2022) คาดว่าเศรษฐกิจซาอุดิอาระเบียจะมีอัตราการเติบโต 7.6% ในปีนี้  นับเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดในกลุ่มเศรษฐกิจโลก ซึ่งรวมถึงเศรษฐกิจประเทศพัฒนา  ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนา  มีอิทธิพลมาจากภาคน้ำมันคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง  การกระตุ้นการส่งออกและกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน อัตราการฉีดวัคซีนที่สูง และการลงทุนที่เร่งตัวขึ้น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการขยายตัวยังคาดว่าได้รับการสนับสนุนจากนโยบายของรัฐบาลที่เอื้ออำนวย ซึ่งรวมถึงวิสัยทัศน์ปี 2030 อย่างไรก็ตาม ต้นทุนอาหารในซาอุดิอาระเบียเดือนมิถุนายน 2565 เพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบปี

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527