สวัสดี

ส่องความเคลื่อนไหวตลาดวีแกน / Plant-Based Food ในรอบ ปี 2563

แชร์:
Favorite (38)

มิถุนายน 2563

ต้นกำเนิดของคำว่า “วีแกน” หรือ “Vegan” เกิดขึ้นภายหลังจากที่นายโดนัลด์ วัตสัน (Donald Watson) ได้ก่อตั้งสมาคมวีแกนขึ้นในประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2478 ซึ่งนิยามวีแกนในช่วงเริ่มต้นหมายถึง มังสวิรัติที่ยกเว้นผลิตภัณท์จากสัตว์ เช่น ไข่ และนม ต่อมาได้มีการขยายนิยามให้ครอบคลุมกิจกรรมหรือการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่ต้องไม่เบียดเบียนหรือหาประโยชน์จากสัตว์ด้วย โดยกลุ่มคนที่ปฏิเสธการรับประทานไข่และนม มักถูกเรียกว่า Dietary Vegan หรือ Strict Vegetarian หรือวีแกน (Vegan) ต่อมาได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันวีแกนโลก (World Vegan Day) และจัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ให้ผู้คนได้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว คนวีแกน คือกลุ่มคนที่มีวิถีการดำเนินชีวิตโดยไม่เบียดเบียนสัตว์ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และไม่มีความเชื่อทางศาสนาหรือลัทธิเข้ามาเกี่ยวข้อง พฤติกรรมหลักที่คนวีแกนแสดงออกจะสื่อสารออกมาในรูปแบบของการบริโภคอาหารและวิถีการดำเนินชีวิตเป็นหลัก โดยในด้านของการบริโภคอาหารนั้น คนวีแกนจัดเป็นมังสวิรัติแนวใหม่ที่มีข้อจำกัดมากกว่ามังสวิรัติทั่วไป คือ จะงดเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์รวมถึงผลิตภัณฑ์จากสัตว์ อาทิ ไข่ นม เนย น้ำผึ้ง รังนก ยีสต์ และเจลาติน เป็นต้น ส่วนในด้านวิถีการดำเนินชีวิตจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องอุปโภคที่ได้มาจากสัตว์ไม่ ใช้เครื่องแต่งกายที่ทำมาจากสัตว์ เช่น รองเท้าหนัง กระเป๋าหนัง รวมถึงเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากส่วนใดส่วนหนึ่งของสัตว์ หรือแม้แต่การใช้สัตว์ในการทดลองก็ถือเป็นของต้องห้ามเช่นกัน

ในขณะที่กลุ่มคนมังสวิรัติบางส่วนสามารถบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้และไม่ได้กำหนดเรื่องวิถีการดำเนินชีวิตไว้ชัดเจนโดยเฉพาะกลุ่มคนมังสวิรัติในรุ่นหลัง ส่วนกลุ่มคนที่รับประทานเจจะเลือกรับประทานอาหารคล้ายคลึงกับคนวีแกน แต่จะงดเว้นอาหารรสจัด และพืชผักที่มีกลิ่นฉุน 5 ชนิด ได้แก่ หอม กระเทียม คื่นฉ่าย ใบยาสูบ และหลักเกียว (กระเทียมโทนจีน) วิถีการดำเนินชีวิตของคนรับประทานเจจะเน้นการถือศีลและประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคม

ในขณะที่อาหารที่เรียกว่า Plant-Based Food เป็นคำเรียกรวมๆ ของกลุ่มคน หรือพฤติกรรมของกลุ่มคนที่บริโภคอาหารที่ทำมาจากพืชเป็นหลัก แต่อาจมีส่วนประกอบที่ไม่ได้มาจากพืชรวมอยู่ได้บ้างในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งส่วนประกอบอาหารที่มิได้มาจากพืชดังกล่าว อาทิ วัตถุดิบ ส่วนผสม สารเคมี สารแต่งกลิ่น รส สีที่มิได้มาจากพืช โดยที่ไม่มีประเด็นความเชื่อในทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง หากพิจารณาอาหารที่รับประทานจะพบว่า อาหารเจ Plant-Based Food และอาหารวีแกน มีองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกันมาก แตกต่างจากอาหารมังสวิรัติที่มีองค์ประกอบหรือประเภทของอาหารที่สามารถบริโภคได้มีจำนวนมากกว่า ทั้งนี้ กลุ่มผู้บริโภคที่เริ่มเข้าสู่การเป็นวีแกน หรือมังสวิรัติ หรือ Plant-Based Food อาจยังไม่สามารถปฏิบัติตนได้ตามแบบแผนหรือวิธีปฏิบัติดังกล่าวได้ 100% ก็มักจะเริ่มจากการลดสัดส่วนจำนวนอาหารที่เป็นข้อห้ามและเพิ่มสัดส่วนอาหารที่มาจากพืชมากขึ้น เราเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ว่า มังสวิรัตยืดหยุ่น (Flexitarian หรือ semi-Vegetarian) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีความน่าสนใจในมุมมองของนักการตลาด

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527